พอล ณัฐศิษฏ วาจาสิทธิศิลป์
ในการทำธุรกิจ จะมีคำกล่าวอยู่ว่า “เราจะได้ในสิ่งที่เราเป็น ไม่ใช่ได้ในสิ่งที่เราอยากได้” เพราะฉะนั้นถ้าเกิดเราอยากประสบความสำเร็จ เราก็ต้องทำตัวให้มีคุณสมบัติของความสำเร็จเสียก่อน
ถึงแม้ว่าพื้นฐานของการที่จะทำให้ธุรกิจประสบความสำเร็จเราจะต้องมีสินค้าที่ดี แต่ว่าจริง ๆ แล้วการที่เรามีสินค้าที่ดี เป็นเพียงแค่ 1 ใน 8 สิ่งที่ผู้ประกอบการควรฝึกฝนให้เชี่ยวชาญ และยังเหลืออีกตั้ง 7 อย่างที่เราจะต้องฝึกฝนให้ชำนาญ
ดังนั้น วันนี้เราจะมาคุยกันถึงคุณสมบัติอันไม่พึ่งประสงค์ เพราะถ้าผู้ประกอบการคนไหนมีคุณสมบัติแบบนี้ ก็เรียกได้ว่าธุรกิจจะล่มสลายได้ง่ายมาก ๆ ดังนี้
1. Anti-social tendencies – แนวโน้มที่จะชอบทำงานคนเดียว
ผู้ประกอบการ คือการ “เอางานมาประกอบ” ดังนั้น ถ้าเราเป็นผู้ประกอบการ เราก็ต้องหยิบจับเอาหลายสิ่งหลายอย่างมาผสมผสานรวมกัน เพื่อให้เกิดธุรกิจ เพราะฉะนั้นมันเป็นไปไม่ได้ ที่คุณทำธุรกิจด้วยตัวคนเดียว และธุรกิจต่างจากทำมาหากิน การทำอาชีพต่าง ๆ เช่น ช่างซ่อมคอม นักเขียน นักออกแบบ สิ่งเหล่านี้เป็นการทำมาหากิน เราสามารถทำงานคนเดียวได้ แต่การที่เราจะทำธุรกิจ เราไม่สามารถจะอยู่คนเดียวได้ เราการทำธุรกิจจะต้องมีการสื่อสารกับคนอื่น มีการขาย การตลาด การสร้างสายสัมพันธ์ที่ดี การสร้างทีมงาน สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ล้วนแล้วแต่อยู่บนพื้นฐานของการทำงานร่วมกับผู้อื่นทั้งสิ้น
ดังนั้น ถ้าใครทำธุรกิจแล้วบอกว่าอยากจะทำงานคนเดียว ผมบอกได้เลยว่าอย่าทำธุรกิจ ให้ไปยืนอยู่ในจุดของการทำมาหากินดีกว่า เพราะไม่เช่นนั้นมันจะเสียหายมากกว่าที่คุณคิด
2. Self-doubt – สงสัยในตัวเอง
บางคนทำธุรกิจบนความไม่แน่ใจ ไม่ชัดเจน เช่น สงสัยว่าสินค้าตัวเองดีไหม สงสัยว่ากำลังทำสิ่งที่ถูกต้องหรือเปล่า
สงสัยว่าสิ่งที่ทำมันเป็น passion ไหม สิ่งเหล่าต่าง ๆ นี้ถ้าตั้งต้นจากความไม่มั่นใจ ไม่ว่าเราจะทำอะไรก็แล้วแต่มันจะถูกถ่ายทอดออกมาในรูปแบบของความไม่มั่นใจ เวลาคุยกับลูกค้า กับทีมงาน มันจะให้ความรู้สิ่งที่ไม่มั่นคง ไม่ปลอดภัย ก็จะทำให้คนต่าง ๆ ที่อยู่แวดล้อมเราเกิดความลังเลในสิ่งนั้นเช่นกัน และเมื่อทุกคนเกิดความลังเลสงสัย กระบวนการต่าง ๆ มันก็จะติดขึ้นไปหมด รวมถึงตัวคุณเองถ้าเริ่มต้นบนความไม่มั่นใจ คุณจะไม่สามารถปลอดปล่อยศักยภาพออกไปได้แบบเต็มเหนี่ยว
3. Inflexibility: ขาดความยืดหยุ่น
บางคนยึดติดกับแผนการมาก ๆ ทุกธุรกิจมีแผนการ ทุกธุรกิจมีระบบ ทุกธุรกิจมีกระบวนการ อะไรก็ตามที่จะเกิดขึ้นจะเป็นไปตามแผนทั้งหมด แต่การทำธุรกิจก็จะต้องมีความสมดุลด้วย เพราะถ้าคุณขาดความยืดหยุ่นตามสถานการณ์ ธุรกิจก็อาจจะเจ๊งได้ง่ายมาก ๆ เพราะความยืดหยุ่นเป็นเรื่องของวิธีการปรับตัว
ยกตัวอย่างกระบวนการที่ทำให้ผมหงุดหงิดและสงสัยว่าทำไมทำแบบนี้ ซึ่งเรื่องนี้เกิดขึ้นมาประมาณ 10 ปีแล้ว ยุคนั้นคนยังอ่านหนังสือการ์ตูนกันอยู่ ตอนนั้นเป็นเวลา 3 ทุ่มแล้ว ผมเดินเล่นอยู่เซ็นทรัลพระราม 3 และผมก็เป็นแฟนการ์ตูนเรื่องหนึ่ง ก็เลยไปเดินหาซื้อ พอไปถึงร้านการ์ตูน เขากำลังจะปิดร้านแล้ว ประตูม้วนถูกดึงลงมาครึ่งหนึ่งแล้ว ผมก็เลยถามพนักงานว่าการ์ตูนเรื่องนี้ออกหรือยัง ผมอยากจะขอซื้อหน่อย พนักงานเขาก็บอกว่าออกแล้ว แต่ผมขายไม่ได้ เพราะระบบคิดเงินปิดไปแล้ว ผมก็คิดในใจ ก็รับเงินไว้ก่อนสิ พรุ่งนี้เปิดระบบใหม่ก็ค่อยเอาเงินใส่เข้าไปก็ได้ ซึ่งเป็นการรับยอดขายเข้าระบบในวัยรุ่นขึ้น
สิ่งนี้คือตัวอย่างของการไม่ยืดหยุ่น เราลองนึกดูว่ามีลูกค้าเอาเงินมารอจ่ายอยู่หน้าร้าน แต่พนักงานกลับปฏิเสธเงินนั้น มันประหลาดมาก ดังนั้น คนที่วางระบบระเบียบต่าง ๆ จะต้องบอกพนักงานให้เข้าใจว่าการเปิดร้านของเรามีเป้าหมายอย่างไร ระบบระเบียบบางเรื่องมันก็ควรจะยืดหยุ่นเพื่อให้เราไปถึงเป้าหมายของการทำธุรกิจ
4. Power – บ้าอำนาจ
ถ้าเกิดว่าใครเป็นผู้ประกอบการ เป็นเจ้าของธุรกิจที่ไม่ฟังใครเลย แต่ทุกคนต้องฟังคุณคนเดียว เพราะตอนนี้คุณใหญ่ที่สุด และคิดว่าความคิดของคุณดีที่สุด จนลูกน้องไม่กล้าเสนอไอเดียเลย สุดท้ายผลที่ตามมาก็คือ ภาระรับผิดชอบทุกอย่างมันจะมาลงที่ตัวคุณ คุณจะต้องตัดสินใจแม้กระทั่งเรื่องเล็ก ๆ น้อย ๆ ที่แทบไม่มีความสำคัญอะไรเลย แต่มันก็จะปรากฎขึ้นมาเพื่อให้คุณตัดสินใจ
ทุกอย่างในธุรกิจ ก็จะกลับมาหาคุณ ไม่ว่าจะเป็นหารตัดสินใจ หรือแม้แต่เรื่องเล็ก ๆ น้อยๆ จะต้องผ่านคุณทุกเรื่อง รวมถึง บรรยากาศในการทำงานก็แย่ และไม่มีใครอยากทุ่มเทในการทำงานด้วย เพราะถ้าพลาดก็อาจโดนด่า
ในการเป็นเจ้านาย คุณไม่จำเป็นต้องทำให้คนรัก แต่คุณก็ไม่ควรทำให้คนเกลียด…
5. Lack of focus – ขาดการจดจ่อ
หลายคนประสบความสำเร็จอย่างรวดเร็ว อย่างเช่นผมมีลูกค้าท่านหนึ่ง ปีที่แล้วยอดขาย 50 ล้าน แต่ปีนี้พอผม consult ให้ ยอดขายก็เพิ่มขึ้น 6 เดือนปาเข้าไป 70 ล้านบาทเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ถือเป็นคนที่ประสบความสำเร็จมาก และประสบความสำเร็จอย่างรวดเร็ว ถึงแม้จะเป็นช่วงโควิดก็ตาม แต่ทุกครั้งที่ consult กัน เจ้าของธุรกิจท่านนี้
ซึ่งทุกครั้งที่ได้คุยกัน เขาก็จะบอกว่าอยากขยายธุรกิจออกไปมากมาย แต่ผมจะเตือนเขาว่าให้ใจเย็น ๆ เพราะตอนนี้ ธุรกิจเดิมยังขาดหัวใจในการที่จะทำให้มันไปต่อได้ด้วยตัวเอง และถ้าเราไปถึงจุดนั้นได้ จะเป็นวันที่เจ้าของธุรกิจสามารถกำลังเอาพลังงานไปโฟกัสที่ธุรกิจใหม่ได้ แต่เจ้าของธุรกิจคนนี้ไม่เชื่อ และคิดว่าผมคิดมากเกินไป จึงได้เตือนสติบอกว่า ให้ไปอ่านหนังสือ Best seller ของผม บทที่ 4 แล้วมาบอกอีกทีว่าจะทำในสิ่งที่ต้องการจะทำอีกหรือเปล่า ?
เขาก็ไปอ่านอย่างจริงจัง แล้วตอนหลังก็มาบอกว่าเข้าใจแล้วว่าผมหมายความว่ายังไง ซึ่งอาการนี้เรียกว่าโรค Octopus syndrome เหมือนปลาหมึกที่มีหลาย ๆ มือ และต้องทำสิ่งต่าง ๆ เยอะแยะเต็มไปหมด
6. Competitiveness – โฟกัสแต่คู่แข่ง
หลายคนมีลักษณะชอบการแข่งขัน ชอบไปโฟกัสที่คู่แข่งว่าเขาทำอะไรอยู่ หลาย ๆ ครั้งเราก็ตกม้าตายเพราะตัวเรานั่นแหละ ที่มัวแต่ไปมองคู่แข่ง ไม่มองทางที่เรากำลังเดิน จนเราหกล้มลงไปเอง ดังนั้น ไม่ต้องไปโฟกัสเขาตลอดเวลา แค่ชำเลืองมองเป็นระยะก็พอแล้ว แต่กลับมาโฟกัสที่ตัวเองแทน ทำในสิ่งที่กำลังทำอยู่ให้ดี
เพราะจากประสบการณ์ที่ผมประสบพบเจอมา พบว่าน้อยมากที่คู่แข่งจะมาจัดการเรา เพียงแต่ว่าเราต่างหากที่เสียสมาธิไปเอง เพราะมองแต่ไปมองเขา ไประแวง จนเราเสียจังหวะไปเอง
7. Perfectionism – สมบูรณ์แบบเกินไป
พวกนี้เป็นพวกชอบความสมบูรณ์แบบ ผมเองก็ติดนิสัยนี้มาเหมือนกัน เพราะเคยทำงานกับเจ้านายเยอรมัน ที่เขาทำงานแบบเนียบมาก แต่ในโลกของพนักงานประจำมันง่าย มันมีตารางเวลากำหนดไว้หมด เราไม่ต้องกังวลเรื่องเงิน เรื่องรายได้ต่าง ๆ เพราะยังไงเราก็มีรายได้จากบริษัททุกเดือนอยู่แล้ว
ตอนนั้นกว่าที่ผมจะออกสินค้าใหม่ใช่เวลาเป็นปี บริษัทก็รอได้ เพราะเขาก็มีต้นทุนของบริษัทอยู่แล้ว ที่จะรอผมได้ แต่พอผมมาทำธุรกิจของตัวเอง บริบทมันไม่ใช่แล้ว เพราะผมต้องหาเงินเดือนต่อเดือน หลังจากนั้นก็เลยลดความสมบูรณ์แบบไป
ต่อมาผมก็เริ่มเปลี่ยนนิสัยใหม่ หลังจากไปเรียนสัมมนาที่ต่างประเทศหลักสูตรหนึ่ง เป็นหลักสูตรการตลาดแบบกองโจร GBI เรียนอยู่ 5 วัน กับอาจารย์ Alex Mandosian ได้กล่าวไว้ว่า Version 1 is better than version none แปลว่าเวอร์ชั่นที่ 1 ย่อมดีกว่าเวอร์ชั่นที่คุณยังไม่ได้ทำมัน ซึ่งก็ทำให้ผมคิดได้ว่าจะไปรอให้มันสมบูรณ์แบบก็ไม่ไหว ผมเลยใช้วิธีใหม่คือการทำทุกอย่างให้ดีที่สุด ณ เวลานั้น ไม่ใช่จะให้มันดีที่สุดตลอดตลอดกาล
และอาจารย์อีกท่านของผมที่สอนเรื่องการตลาดออนไลน์ก็บอกว่า Focus on Progression not Perfection แปลว่าให้โฟกัสที่ความก้าวหน้า ไม่ใช่โฟกัสที่ความสมบูรณ์แบบ คือเราจะต้องพัฒนาไปเรื่อย ๆ ให้ดียิ่ง ๆ ขึ้นไป ไม่ใช่จะต้องทำให้สมบูรณ์แบบไร้ที่ติในครั้งเดียว
8. Close-mindedness – ใจไม่เปิด
หลายคนคิดว่าใครจะมารู้ดีกว่าธุรกิจของเราดีไปกว่าตัวเราได้ ก็เลยไม่จ้าง consult ไม่ขอความช่วยเหลือจากใครเลย เพราะคิดว่าตัวเองมีประสบการณ์ในธุรกิจที่ปลุกปั่นมากับมือ และไม่มีใครจะไปรู้ดีกว่าเรา แต่สุดท้ายธุรกิจก็อยู่ที่เดิม ไม่ได้ก้าวไปไหน เพราะทุกคนจะมีจุดบางอย่างที่ตัวเองไม่รู้เสมอ ดังนั้น ถ้าเรารู้ว่ามีบางอย่างที่เรายังไม่รู้ เราก็จะต้องให้คนอื่นมาช่วย
หลายคนไม่ได้เรียนรู้เพิ่มเติม แต่คิดว่าการศึกษาในภาคปกติของมหาวิทยาลัย เรียนจบมาแล้วก็สำเร็จแล้ว ซึ่งในความเป็นจริง ความรู้ไม่มีวันจบสิ้น เราต้องเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ ตลอดเวลา
ผมเองทำธุรกิจขายความฝันให้กับลูกค้า คือเป็นเอเจนซี ได้คลุกคลีอยู่กับเทคโนโลยีใหม่ ๆ จนตัวเองมีโอกาสได้เจอธุรกิจที่อยากทำเพิ่ม แล้วก็ลงมือทำทั้ง ๆ ที่ไม่มีเงินทุนมากพอ ไม่มีความพร้อม ไม่มีประสบการณ์ อาศัยการเปิดหูเปิดตา เปิดใจ ก็สามารถทำให้ธุรกิจนี้ประสบความสำเร็จ และสร้างรายได้มากมายภายในระยะเวลาสั้น ๆ ซึ่งสิ่งหนึ่งที่ทำให้ผมประสบความสำเร็จ เพราะผมเอามุมมองที่เคยทำในธุรกิจอื่น มาใส่ในธุรกิจใหม่ซึ่งมันเป็นการนำมาใช้แบบข้ามอุตสาหกรรม มันก็เลยกลายเป็นมุมมองใหม่ ๆ ในการทำธุรกิจ ใช้ model ใหม่ที่ไม่เหมือนเดิม
9. Instant gratification – ฉลองเร็วเกินไป
อาการนี้เป็นอาการคล้าย ๆ สามล้อถูกหวย สมมุติว่าวันหนึ่งมีรายได้ 5 หมื่น อยู่ดี ๆ ที่รายได้ 1 แสน หรือถ้าเป็นเจ้าของธุรกิจคือเคยมีรายได้เดือนละ 1 ล้าน แต่กลายมาเป็นรายได้เดือนละ 5 ล้าน พอได้เงินก้อนใหญ่มา ก็รีบใช้ออกไป
ซึ่งผมเองก็เคยเป็นแบบนี้ และเรียนรู้เลยว่ามันคือความเสียหาย เป็นความผิดพลาดที่เกิดขึ้นจากความอยาก ไม่ใช่เป็นการใช้จ่ายจากความจำเป็น ก็เลยฝึกฝนตัวเองแล้วก็ใช้สติในการระงับกิเลสเรื่องนี้ ก็เลยเข้าใจว่าหลายคนจะมีอาการนี้ พอยอดขายเข้ามาเยอะ ๆ ก็ใช้จ่ายออกไปเพราะเอาความอยากมาเป็นตัวตั้ง พอมีเรื่องจำเป็นที่จะต้องใช้เงินขึ้นมา ก็เกิดปัญหา เพราะเงินสำรองไม่พอ ดังนั้น อย่าเป็นคนที่มีนิสัยฉลองเร็วเกินไป
และทั้งหมดนี้ ธุรกิจจะล่มสลาย ถ้าคุณไม่แก้ไข 9 นิสัยต่อไปนี้ สำหรับใครที่อยากจะหลีกเลี่ยงปลายทางแห่งหายนะ ความล้มเหลวในการทำธุรกิจ ก็ไม่ควรที่จะทำเรื่อง 9 ข้อนี้จนติดเป็นนิสัย เป็นความเคยชิน เพราะเมื่อเราทำมันเป็นประจำ ผลเสียที่ตามมาจะไม่คุมค้ากับราคาที่ต้องจ่ายไป