ธุรกิจเจริญได้ถ้ารู้จักใช้คน 9 ประเภทนี้ (ตอนที่ 2)

[xyz-ips snippet="Podcast"]

พอล ณัฐศิษฏ วาจาสิทธิศิลป์

สำหรับในวันนี้เราจะนำเสนอเรื่อง ธุรกิจเจริญได้ถ้ารู้จักใช้คน 9 ประเภทนี้ (ตอนที่ 2) ซึ่งในตอนที่ 1 นั้น เราก็ได้มีการนำเสนอไปแล้ว ถ้าใครยังไม่ได้อ่านก็สามารถย้อนกลับไปอ่านกันได้

โดยเนื้อหาของบทความทั้งสองตอนนี้ ถือเป็นบทความสามารถนำไปใช้ได้ทั้งธุรกิจที่มีพนักงานไม่กี่คน และธุรกิจที่มีพนักงานเป็นจำนวนมาก เพราะถือเป็นแนวทางที่ดีในการที่เราจะนำไปใช้บริการจัดการทีมงาน ว่าทีมงานของเรานั้นเป็นคนประเภทไหน และจะบริหารจัดการ หรือส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาให้ดียิ่งขึ้นได้อย่างไร

ซึ่งสำหรับเครื่องมือที่ชื่อว่า 9 Box grid Performance management นั้น จะเป็นการแบ่งพนักงานของเราออกเป็น 9 กล่อง และคนในแต่ละกล่อง ก็มีวิธีในการบริหารจัดการที่แตกต่างกัน ซึ่งในตอนที่ 1 นั้น เราได้นำเสนอไปแล้ว 3 กล่อง วันนี้เราจะมาต่อกันในกล่องต่อไปเลย…

เครดิตภาพ: www.pexels.com/th-th/photo/3184360/

Type: 4 Avg.performance / Low potential

ถือเป็นพนักงานประเภทที่ทำงานใช้ได้ อาจจะมีข้อผิดพลาดบ้าง แต่โดยรวมแล้วก็ถือว่ามีผลงานกลาง ๆ แต่ไม่มีโอกาสพัฒนาต่อ เพราะอาจจะเป็นจุดสูงสุดของศักยภาพแล้ว คือทำได้แค่นี้จริง ๆ

ซึ่งพนักงานประเภทนี้ เปรียบได้กับตัว Back-up หรือผู้เล่นสำรอง ถ้าหากว่าผู้เล่นหลักขาดไป เราก็สามารถดึงเอาคนเหล่านี้มาทดแทนได้ชั่วคราว เหมือนเป็นล้ออะไหล่ อาจจะไม่ใช่คนที่ดีที่สุด แต่ก็เหมือนคนที่ทำให้บริษัทผ่านพ้นปัญหาที่กำลังเผชิญหน้าอยู่ได้

คนประเภทนี้จะทำงานได้ปานกลาง โอกาสเติบโตน้อย มีความรับผิดชอบต่อหน้าที แต่ขาดแววที่จะเติบโตต่อในองค์กร เพราะตอนจ้างมาทำงานอาจจะไม่ใช่คนที่บริษัทคาดหวังว่าก้าวหน้าได้อย่างรวดเร็ว เพราะบางบริษัท มีความต้องการที่จะใช้ทรัพยากรบุคคลเป็นจำนวนมาก ๆ หลักร้อย หลักพันคน การที่จะหาคนเก่งมาก ๆ มาทำงานกับเราทั้งหมด อาจจะทำไม่ได้ รวมถึง ความสำเร็จของการบริหารงาบบุคคล คือการทำให้คนธรรมดา ๆ สามารถทำงานได้ดี และอยู่กับองค์กรได้นาน ๆ

ดังนั้น ถ้าหากบริษัทไหนที่มีระบบฝึกอบรมที่ดี ที่ต่อเนื่อง ก็จะสามารถช่วยให้บุคคลในกล่องที่ 4 นี้สามารถพัฒนาได้ ซึ่งจริง ๆ แล้วคนประเภทนี้ไม่ใช่พนักงานที่ไม่ดี แต่เขาอาจจะเหมาะกับงานที่มีระเบียบปฏิบัติที่ชัดเจน ตัวงานมีความซับซ้อนน้อย ไม่ต้องมีอะไรที่ท้าทายมากนัก ไม่ใช่งานที่จะต้องใช้การวิเคราะห์ ใช้ความคิดสร้างสรรค์ หรืองานที่ต้องใช้ทักษะแก้ปัญหาเฉพาะหน้า

สิ่งที่จะปฏิบัติกับคนเหล่านี้ ในฐานะที่เราเป็นหัวหน้างาน หรือเป็น HR ก็คือ…

  • พยายามทำให้พวกเขาทำงานได้อย่างเต็มความสามารถ แม้ว่าประเมินผลมาแล้ว โอกาสที่เขาจะพัฒนามันไม่มีเลย เราก็ควรที่จะให้โอกาสทุกคนได้พัฒนา
  • เพราะบางครั้งการประเมินอาจจะไม่ถูกต้องทั้งหมด หรือเขาอาจจะยังไม่มีแรงจูงใจที่มากพอ เพราะเราต้องเชื่อในศักยภาพของมนุษย์ เพราะสุดท้ายถ้าเราสามารถสร้างแรงกระตุ้นที่ถูกต้องได้ พนักงานของเราก็จะสามารถพัฒนาไปในทิศทางที่ถูกต้องได้
เครดิตภาพ: www.pexels.com/th-th/photo/8424570/

Type: 5 Avg. performance / Avg. potential

คือคนประเภทที่ทำงานได้ปานกลาง แต่มีศักยภาพที่จะสามารถพัฒนาต่อยอดได้ เรียกได้ว่าเป็น “กองกลาง ขององค์กร” คือทำงานใช้ได้ แถมยังมีโอกาสที่จะต่อยอดเติบโตต่อไปได้ คนพวกนี้ถือเป็น Key driver ขององค์กร ถ้าบริษัทไหนมีผู้เล่นแบบนี้เยอะ โอกาสที่ธุรกิจจะเติบโตหรือ Scale ธุรกิจได้จะมีสูงมากขึ้นตามไปด้วย

เราไม่จำเป็นจะต้องหาคนเก่งมาก ๆ จำนวนเยอะ ๆ มาอยู่ในองค์กรทั้งหมด แต่เราสามารถที่จะเติบโตได้โดยใช้ผู้เล่นที่เป็นกุญแจสำคัญของการเติบโต นั้นก็คือพนักงานแบบกล่องที่ 5 ซึ่งผลงานพอใช้ได้ แถมยังมีโอกาสที่จะพัฒนาให้ดียิ่งขึ้นอีก โดยเราสามารถหาคนประเภทนี้ได้ง่ายกว่าการตามหาพนักงานระดับเทพ และคนพวกนี้ แม้ว่าจะไม่ใช่พนักงานที่เป็นเลิศ แต่เขาก็สามารถที่จะพัฒนาต่อยอดไปได้ถ้าเราให้การสนับสนุนที่ดีพอ นั้นก็คือการให้โครงสร้างที่เป็นปัจจัยของการเติบโต และการให้พื้นที่เปิดโอกาสในการแสดงความมีภาวะผู้นำออกมา

รวมถึง ที่พิเศษมาก ๆ ก็คือ คนประเภทนี้ถือเป็นกลุ่มคนสามารถทำงานข้ามสายงานได้ด้วย เราอาจจะจัดวางให้เขาไปอยู่ในตำแหน่งแห่งที่ซึ่งมีความเหมาะสม ทำให้ระบบขององค์กรมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น และตัวพนักงานเองก็มีโอกาสที่จะเติบโตง่ายขึ้นด้วย

ดังนั้น ถ้าหากใครเป็นหัวหน้างาน หรือ HR สิ่งที่ควรจะทำก็คือ…

  • คุยถึงแผนพัฒนาบุคลากร เพราะไม่ว่าจะเป็นพนักงานประเภทไหนก็ตาม บริษัทควรจะมีแผนพัฒนาบุคลากรด้วยกันทั้งสิน เพียงแต่พนักงานที่มีความสามารถในแต่ละระดับก็จะมีแผนการพัฒนาบุคลากรที่ไม่เหมือนกัน เช่น ถ้าหากดูแล้วว่าใครมีศักยภาพที่จะพัฒนาต่อยอดได้ เราอาจจะใช้เวลาในการคุยมากหน่อย แต่ถ้าดูแล้วใครที่ศักยภาพในการพัฒนาต่อยอดต่ำ เราก็อาจจะใช้เวลาในการนั่งคุยน้อยลง
  • ควรที่จะมีการสอบถามพนักงานทุกคนว่า ในอนาคตเขาอยากจะเติบโตขึ้นไปเป็นอะไรในองค์กร โดยจะต้องคุยถึงแรงจูงใจของพนักงานแต่ละคนอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้แน่ใจว่าตอนนี้เขายังมีความสุขที่จะทำงานอยู่ และถ้าหากเขาไม่มีความสุขแล้ว เราก็จะได้รู้ว่ามันเกิดมาจากสาเหตุอะไร และควรจะแก้ปัญหาเฉพาะรายบุคคลอย่างไร
  • โดยการพัฒนาบุคลากรนั้นเป็นสิ่งที่จะต้องทำอย่างต่อเนื่อง ไม่ใช่ทำ ๆ หยุด ๆ คิดออกเมื่อไหร่แล้วค่อยทำ แต่ควรทำให้เป็นแบบแผน เป็นกิจวัตรที่มีความสม่ำเสมอ
  • บริษัทที่ประสบความสำเร็จทุกบริษัท ถ้าหากไม่มีศูนย์ฝึกอบรมของตัวเอง เขาก็จะมีการส่งพนักงานไปเรียนที่อื่น และทำเป็นประจำ
เครดิตภาพ: www.pexels.com/th-th/photo/3861561/

Type: 6 Avg. performance / High potential

เป็นกลุ่มพนักงานที่มีผลงานแบบกลาง ๆ แต่มีแนวโน้มที่จะพัฒนาศักยภาพต่อยอดไปได้อีกเยอะมาก เปรียบได้ง่าย ๆ กับ

“กองกลางตัวรุก” ในเกมการแข่งขันฟุตบอล ซึ่งเป็นกลุ่มคนที่อยู่ในแนวกลาง แต่ก็มีความสามารถที่จะเป็นตัวรุกได้เหมือนกัน มีผลงานที่ดี และอนาคตไปต่อได้อีกไกล

กลุ่มคนประเภทนี้อาจจะเป็นคนเก่ง แต่ไม่ขยัน จึงทำให้ได้ผลงานแบบกลาง ๆ หรือในบางกรณีอาจจะไม่มีพื้นที่ให้แสดงฝีมือ หรือผู้บริหารไม่ได้กล้าเสี่ยงมากพอที่จะให้เขาได้แสดงฝีมือในงานยาก ๆ ที่มีความท้าทายมาก ๆ

คนประเภทนี้สามารถที่จะพัฒนาต่อยอดได้ง่าย เพราะจริง ๆ ก็มีความเก่งอยู่ในตัวอยู่แล้ว เพียงแค่เราบอกเป้าหมายไป และเปิดพื้นที่ให้ได้แสดงฝีมือ เขาก็สามารถที่จะก้าวไปสู่การเป็นพนักงานที่โดดเด่น หรือเป็น Super star ขององค์กรได้ไม่ยาก

ซึ่งคนประเภทนี้ ถ้าหากเราให้กรอบในการตัดสินใจกับเขาไป และให้พื้นที่กับเขาในการแสดงฝีมือ เราแทบจะไม่ต้องไปนั่งประคับประคองอะไรเลย เพราะโดยเนื้อแท้แล้วเขาสามารถที่จะพลิกแพลงสถานการณ์เพื่อทำภารกิจให้สำเร็จลุล่วง ถ้าเราเปิดโอกาส เปิดพื้นที่ให้เขามากพอ

เพราะธรรมชาติของคนเก่ง เขาต้องการพื้นที่ และต้องการอำนาจในการตัดสินใจ รวมถึงให้โอกาสที่จะลองผิดลองถูกได้ ดังนั้น สิ่งที่หัวหน้างานหรือ HR ควรจะทำก็คือ…

  • มีการโยกย้ายตำแหน่งงาน ให้คนประเภทนี้ไปทำงานในส่วนงานอื่น ๆ พื้นที่อื่น ๆเพื่อฝึกประสบการณ์ ให้มีความเชี่ยวชาญ มีความแหลมคมมากยิ่งขึ้น
  • เอาคนที่เป็นประเภทนี้ไปอยู่กับคนที่เป็นพนักงานเก่ง ๆ ระดับเทพเลย เพื่อให้คนเหล่านี้ได้เห็นและซึมซับตัวอย่างที่ดี และมีพี่เลี้ยงในการพัฒนาต่อยอดของตัวเองได้
  • มีระบบโค้ชที่ดีในการชี้แนะแนวทางให้กับเขา
เครดิตภาพ: www.pexels.com/th-th/photo/3861923/

Type: 7 High performance / Low potential

เป็นคนที่ทำงานได้ดีมาก มีผลงานดีมาก แต่ไม่ค่อยมีการพัฒนาต่อยอดแล้ว พวกนี้เป็นประเภท “ขาลุยไม่คุยเยอะ” เป็นเหมือนม้าที่เราสามารถใช้แรงงานได้ บุกตะลุยไปเลยโดยไม่ต้องกลัวว่าเขาจะไม่สู้งาน แต่ถ้าจะให้พัฒนาไปในส่วนงานอื่นนอกเหนือจากที่ทำอยู่ก็จะยากแล้ว แต่งานที่ทำในปัจจุบันนั้นถือว่าทำได้ดี หายห่วง

คนประเภทนี้จะมีความสุข ความพอใจ ในสิ่งที่ทำ ในสิ่งที่เป็นอยู่แล้ว เรื่องงานอาจจะไม่สิ่งสำคัญอันดับหนึ่งของเขา จึงไม่ใช่สิ่งที่เขาจะมีความกระตือรือร้นอะไรมาก หรือบางคนอาจจะอยากเก่งเฉพาะทางแค่ในบทบาทหน้าที่ปัจจุบันก็พอใจแล้ว จึงไม่อยากจะพัฒนาไปในด้านอื่น ๆ อีก

คนเหล่านี้ได้อยู่ในพื้นที่สบาย ๆ แล้ว มีความสุขในแบบที่พอใจแล้ว ดังนั้น ถ้าเขาไม่อยากเปลี่ยน เราก็ไม่ต้องเปลี่ยน แต่ในฐานะที่เป็นเจ้าของบริษัท เราก็ต้องพิจารณาด้วยว่ายุคนี้มันคือยุคของความเปลี่ยนแปลง แม้ว่าเราจะไม่อยากเปลี่ยน แต่สิ่งแวดล้อมมันก็บังคับให้เราเปลี่ยนอยู่ดี บางครั้งโมเดลธุรกิจก็เปลี่ยน หรือหน้าที่งานบางอย่างจะไม่มีแล้วในบริษัท เราก็จะต้องวางแผนในอนาคตด้วย จากวันนี้ไปถึงอนาคตที่ความเปลี่ยนแปลงจะมาถึง คนเหล่านี้มีระยะเวลาที่จะพัฒนาทักษะใหม่หรือเปล่า และถ้าเขาไม่อยากพัฒนา เราก็ต้องคุยแล้วว่าความเปลี่ยนแปลงในโลกอนาคตมันจะเป็นอย่างไร ถ้าเขาไม่เปลี่ยน ก็จะไม่รอด ไม่ใช่ว่าเราจะไปบีบบังคับให้เขาเปลี่ยน แต่โลกมันกำลังบีบบังคับเรา เพราะยุคสมัยมันไม่เหมือนเดิมอีกแล้ว

ดังนั้น สำหรับการบริหารบุคคลประเภทนี้ สิ่งที่หัวหน้างานหรือ HR ควรจะทำก็คือ

  • ถ้าเขาทำงานอย่างมีความสุขอยู่แล้ว ก็ให้เขามีความสุขต่อไป
  • ผู้บริหารควรวิเคราะห์ตำแหน่งงานนี้ มีการเปลี่ยนแปลงในอนาคตหรือไม่
  • การให้เงินเดือน ควรเพิ่มขึ้นแบบค่อยเป็นค่อยไป
  • อย่าพยายามเลื่อนตำแหน่งให้เขา ถ้าเขาไม่ได้ต้องการ
เครดิตภาพ: www.pexels.com/th-th/photo/7693099/

Type: 8 High performance / Avg. potential

คนพนักงานที่มีงานดีอย่างยอดเยี่ยม และมีแววที่จะพัฒนาต่อยอดได้อีกเยอะมาก ซึ่งพนักงานประเภทนี้ถือเป็น “High performer” โดยเราควรจะคุยกับเขาถึงอนาคตที่เขาจะเติบโตในองค์กร โดยแสดงให้เขาเห็นว่าในบริษัทยังมีพื้นที่ให้เขาสามารถเติบโตได้อีก หรือบางองค์กรอาจจะถึงกับมีการไปตั้งบริษัทลูกเพื่อให้เขาขึ้นมาเป็นผู้บริหารบริษัทในเครือก็เป็นไปได้

เวลาที่เราดิวกับคนที่ทำงานได้ดีอย่างยอดเยี่ยม และมีแนวโน้มที่จะพัฒนาต่อได้อีก เราจะต้องดิวอย่างใกล้ชิด คนเหล่านี้ควรจะคุยทุก ๆ 3 เดือนเลยด้วยซ้ำ ถ้าเมื่อไหร่ที่เรารู้สึกว่ามีอะไรผิดปกติเราจะต้องมีการคุยกัน

ดังนั้น สิ่งที่หัวหน้างาน หรือ HR ควรจะทำกับคนเหล่านี้ไม่ได้มีอะไรยาก เพราะเขาทำงานได้ดีอยู่แล้ว มีแรงผลักดันที่ดีอยู่แล้ว จึงเหลือสิ่งที่เราควรจะต้องทำก็คือ…

  • ต้องทำให้แน่ใจว่าเขายังมีความสุขอยู่ และทำให้เขามีความสุขต่อไป
  • ตรวจสอบสม่ำเสมอว่าเขาอยากโตเติบโตในสายงานไปทางไหน
  • ให้ Challenges ในงานเดิมเพิ่มมากขึ้น
  • ให้ไปเรียนรู้ข้ามสายงาน
  • หา Mentor หรือ High performer เป็นสิ่งแวดล้อมใหม่ให้กับคนเหล่านี้ เพื่อให้เขาเห็นกระบวนทัศน์ และวิธีการทำงานใหม่ ๆ ที่เขาเอาไปต่อยอดในการทำงานได้
เครดิตภาพ: www.pexels.com/th-th/photo/3184293/

Type: 9 High performance / High potential

พนักงานประเภทนี้คือคนที่ทำงานได้ดีอย่างยอดเยี่ยม แถมมีความสามารถที่จะพัฒนาตัวเองต่อไปได้อย่างไรขีดจำกัด เรียกง่าย ๆ ว่าเป็น “Super star” ซึ่งพนักงานประเภทนี้บอกได้เลยว่า “เงินซื้อเขาไม่ได้”  แต่ต้องซื้อใจ ต้องให้โอกาส ต้องให้พื้นที่ในการที่เขาจะฉายแสง แสดงฝีมือ คนเหล่านี้จะมีความสุขที่จะทำงานมาก

เพราะบางทีเงินอาจจะไม่สิ่งที่คนเก่ง ๆ มาก ๆ ต้องการ แต่เขาแค่ต้องการปัจจัยเอื้อในหลาย ๆ ด้าน เพื่อให้เขาสามารถทำงานออกมาได้ดี ซึ่งคนเหล่านี้จะมีการระมัดระวังมาก ๆ ในเวลาที่จะย้ายบริษัท

สำหรับการทำงานในองค์กร เพียงแค่เราบอกเป้าหมาย และให้ทรัพยากรที่เพียงพอแก่เขา มันก็สามารถทำให้เขาสร้างผลงานดี ๆ ออกมาได้แล้ว

            ดังนั้น สิ่งที่หัวหน้างาน หรือ HR ควรจะทำก็คือ…

  • ลองให้ไปเป็น Invited board of director ให้กับบริษัทอื่น เพื่อฝึกให้เขามีมุมมองแบบผู้บริหารระดับสูงจริง ๆ
  • Mentor โดยทีมบริหาร หรือ CEO
  • สิ่งสำคัญคือให้สังเกตดี ๆ ว่าเขารู้สึกอย่าง ๆ ไร ถ้าเขารู้สึกความไม่พอใจแล้ว เราต้องรู้ให้ไว เพราะคนเหล่านี้สามารถไปอยู่ที่ไหนก็ได้ถ้าเขาต้องการ

และทั้งหมดนี้ก็คือ ธุรกิจเจริญได้ถ้ารู้จักใช้คน 9 ประเภทนี้ โดยถือเป็นเทคนิคการบริหารทรัพยากรบุคคลอีกเครื่องมือหนึ่งที่เราสามารถจะนำเอาไปใช้ได้ เพื่อให้เราเห็นภาพของพนักงานได้อย่างชัดเจน ทั้งในภาพที่เป็นรายบุคคล และในภาพที่เป็นภาพรวมขององค์กร ซึ่งจะทำให้เราสามารถพัฒนาต่อไปได้อย่างถูกต้องเหมาะสม

บทความที่น่าสนใจอื่นๆ

เก่งแต่ไม่ก้าวหน้า ปีหน้าจะทำอย่างไร

ไร้สาระสิ้นดี!!! ทำงานก็มีผลลัพธ์
แล้วทำไมต้องประจบเจ้านาย บ้าไปแล้ว
ทำไมไม่ให้ผลงานเป็นตัวตัดสินหละ
เคยสังเกตไหมว่าทำไมคนที่เก่งคน
เก่งการนำเสนอ และเจ้านายรัก
ถึงมีโอกาสก้าวหน้ามากกว่าคนอื่น?

อ่านต่อ »

เจ้านายไม่รัก จะก้าวหน้าได้อย่างไร?

ทำงานดีทั้งปี เจ้านายไม่เห็นผลงาน
เจ้านายไม่รู้ เจ้านายไม่เห็นความสำคัญ
เพราะไม่ตรงกับเป้าหมาย ทำให้ตายก็
ไม่ไปไหนซักที
เจ้านายไม่รัก จะก้าวหน้าได้อย่างไร?

อ่านต่อ »

รับสิทธิพิเศษมั๊ย?

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

บันทึกการตั้งค่า

ลงทะเบียนตอนนี้ รับ E-Books ฟรี!!