ผู้นำที่ดี ควรคิดและทำอย่างไรในภาวะวิกฤติ

[xyz-ips snippet="Podcast"]
พอล ณัฐศิษฏ วาจาสิทธิศิลป์

ภาวะผู้นำถือว่าเป็นสิ่งสำคัญ โดยเฉพาะในช่วงเวลาที่เกิดวิกฤตการณ์ ซึ่งเนื้อหาที่ผมอยากจะเอามาแบ่งปันต่อไปนี้ ถือเป็นประสบการณ์ที่ผมได้เรียนรู้มาจากการเข้าร่วมสัมมนาในปี 2014 ซึ่งผมกล้าพูดได้เต็มปากเลยว่า งานสัมมนาครั้งนั้นเปลี่ยนชีวิตผมไปตลอดกาลเลยที่เดียว เพราะเนื้อหาสารถที่ได้เรียนรู้ตลอดระยะเวลาหลักสูตร 5 วัน เป็นสิ่งที่ครบรส มีทั้งเนื้อหาสาระ ความสนุกสนาน ตื่นเต้น กดดัน เรียกได้ว่ามีทั้งเสียงหัวเราะ มีทั้งคราบน้ำตาคละเคล้ากันไปเลยทีเดียว

และที่พิเศษที่สุดก็คือ เป็นงานสัมมนาเดียวที่ผมสามารถจดจำเนื้อหาต่าง ๆ ได้ทั้งหมด และไม่ลืมเลือน แม้จะผ่านมาหลายปีแล้วก็ตาม เนื่องจากในหลักสูตรสัมมนาจะต้องมีการท่องคำขวัญ 10 ข้อ ซึ่งก็ช่วยให้ผู้เข้าร่วมสัมมนาสามารถจดจำสิ่งดี ๆ เอาไปใช้ประโยชน์ได้ ดังนั้น ถ้าใครอ่านแล้วชอบก็ลองเอาไปท่องกันดูบ้างก็ได้ เพื่อช่วยในเรื่องการจดจำ และเอาไปใช้ประโยชน์ในการทำธุรกิจของเราได้

เครดิตภาพ: www.pexels.com/th-th/photo/226569/

1. Objective (เป้าหมายของฉันคืออะไร)

การทำธุรกิจ หรือการที่เราจะทำงาน ตลอดไปจนกระทั่งการใช้ชีวิตก็ตาม เราจะต้องมีความชัดเจนว่าเป้าหมายของเราคืออะไร เพราะการที่เราตั้งเป้าหมายไว้อย่างชัดเจน ก็จะนำไปสู่การวัดผลได้ เมื่อวัดผลได้ เราก็จะรู้ว่าสิ่งที่เราทำสำเร็จหรือล้มเหลว

ดังนั้น มีหลายคนเคยมาปรึกษาผมว่า ไม่รู้ว่าจะเริ่มต้นทำธุรกิจอะไรดีถึงจะเหมาะกับตัวเอง ซึ่งส่วนใหญ่ ผมก็มักจะตอบว่า ภายใน 2 ปีนี้มีเป้าหมายอะไรในชีวิตบ้าง(ที่ไม่ใช่เงิน) ถ้าเรารู้เป้าหมายที่แท้จริงของเราแล้ว เราก็จะรู้ว่าเราควรที่จะทำอะไร

2. Plan (แผนการของเราคืออะไร)

ทุกการเดินทางจะต้องมีแผนการเสมอ ถ้าเรามีเป้าหมายว่าเราจะไปเชียงใหม่ สิ่งที่ตามมาเราก็ต้องมีแผนว่าเราจะไปให้ถึงเชียงใหม่ได้อย่างไร บางคนอาจจะนั่งเครื่องบิน ขับรถ หรือนั่งรถไฟไป ก็ขึ้นอยู่กับแผนของแต่ละคน ซึ่งการทำธุรกิจก็เช่นเดียวกัน เมื่อเรามีเป้าหมายแล้ว เราก็ต้องมีแผนว่าเราจะดำเนินธุรกิจไปอย่างไรให้ไปถึงเป้าหมาย มีสินค้า มีบริการอย่างไร ให้ธุรกิจดำเนินต่อไปได้

แต่ผมก็มักจะเน้นย้ำเสมอว่า สินค้า หรือบริการ นั้นเป็นเพียงแค่ยานพาหนะ ถ้าวันหนึ่งยานพาหนะตัวนี้ไม่สามารถพาเราไปต่อได้ เราก็จำเป็นต้องเปลี่ยนยานพาหนะใหม่ เหมือนกับตอนนี้ เรียกได้ว่าเป็นยุคของการเปลี่ยนแปลง ภาวะบีบคั้น ทั้งเรื่องของเทคโนโลยี และโรคระบาด ได้ทำให้สินค้าหรือบริการบางอย่างไม่สามารถจะไปต่อได้ เราเองถ้ารู้ว่ามันไปต่อไม่ได้ เราก็ต้องเปลี่ยนไปทำอย่างอื่น เพราะเรามีเป้าหมายที่จะต้องไปให้ถึงนั้นเอง

เครดิตภาพ: www.pexels.com/th-th/photo/12619/

3. Resources (เรามีทรัพยากรอะไรบ้าง และต้องการทรัพยากรอะไรบ้าง)

การที่เราถามตัวเองว่า “เรามีทรัพยากรอะไรบ้าง” กับ “ต้องการทรัพยากรอะไรบ้าง” สองคำถามนี้มีความแตกต่างกัน โดยคำถามแรกคือ…”เรามีทรัพยากรอะไรบ้าง” มันหมายถึงการที่เราเริ่มต้นจากการคิดบวก แล้วย้อนกลับไปสำรวจตัวเอง ว่าเรามีดีอะไร มันอาจจะไม่ใช่เรื่องเงิน วัตถุสิ่งของ แต่อาจจะเป็นความสามารถ ความสัมพันธ์ที่ดีกับคนอื่น หรือความสามารถในการเข้าถึงโอกาสที่คนอื่นเข้าถึงได้ยาก เป็นต้น

เมื่อเรารู้ว่าเรามีอะไรที่ต้นทุนแล้ว ในลำดับต่อไป เราก็จะต้องมองให้ออกว่าการทำธุรกิจของเรา “ต้องการทรัพยากรอะไรบ้าง” แล้วถ้าสิ่งไหนที่เราไม่มี เราก็ต้องไปมองหาจากผู้อื่น

บางคนอาจจะมีทรัพยากรที่เราต้องการ แต่เขาไม่ได้เอามันมาใช้ประโยชน์อะไร เราก็ต้องข้อแลกเปลี่ยนทรัพยากรกรกับเขา ผมเชื่อในพลังของการแลกเปลี่ยน เพราะการขอเฉย ๆ มันเป็นสิ่งที่ไม่ยั่งยืน แต่การแลกเปลี่ยนอย่างสมเหตุสมผล มันจะทำให้สมประโยชน์กันทั้งสองฝ่าย และมันจะเกิดขึ้นได้อย่างต่อเนื่องและยั่งยืนกว่า

“การที่เราจะประสบความสำเร็จให้ได้
เราจำเป็นจะต้องมีความสามารถในการเข้าถึงทรัพยากรที่เราไม่มี”

4. Challenges/ Obstacle (มีอุปสรรคใดที่น่าจะเกิดขึ้นกับเราบ้าง)

เวลาที่คนจะทำธุรกิจ บางทีก็มักจะคิดถึงแต่ภาพของความสำเร็จ ภาพของความยิ่งใหญ่ มองเห็นแต่แง่ดี เห็นแต่โอกาส แต่ว่าสำหรับคนที่มีความเป็นผู้นำแล้วนั้น จะต้องมีความคิดสองด้านเท่า ๆ กัน คือนอกจากจะมองถึงโอกาสแล้ว จะต้องมองถึงอุปสรรคด้วยว่า สิ่งที่เรากำลังจะทำนั้นมันมีอุปสรรคใดบ้างที่อาจจะเกิดขึ้น

ซึ่งการที่เราเป็นคนคาดการณ์ล่วงหน้าแบบนี้ จะทำให้เราเป็นคนที่มีความสามารถในการที่จะไหวตัวทันสมอ ไม่ว่าจะเกิดเรื่องดีหรือร้ายก็ตาม และแน่นอนว่าการที่เรามองเห็นอนาคตเสียแต่แต่เนิน ๆ จะนำไปสู่การป้องกัน ซึ่งมันดีกว่าการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าในระยะกระชั้นชิด

5. Communicate (เราสื่อสารชัดเจนหรือเปล่า)

ถ้าเรามีทุกอย่างดีหมด แต่การสื่อสารไม่ดี เราก็ไม่สามารถจะขับเคลื่อนอะไรได้เลย เพราะในฐานะที่เราเป็นผู้นำ ผู้ตามจะต้องฟังเราอยู่แล้วว่าเราจะให้เขาทำอะไร แต่ถ้าเราไม่สื่อสารกับลูกน้อง ปล่อยให้ต่างคนก็ต่างทำงานไป ใครทำหน้าที่ตรงไหนก็ทำไป เลิกงานกลับบ้าน ตัวใครตัวมัน สุดท้ายลูกจะรู้แค่งานที่อยู่ตรงหน้า แต่เขาไม่รู้เลยว่าองค์กรกำลังจะเดินไปทางไหน มีโอกาส มีอุปสรรคอะไร

ดังนั้น ผู้นำที่ดีจะต้องส่งเสริมให้ผู้ตามเกิดการเรียนรู้มากยิ่งขึ้นในทุก ๆ วัน แม้บางคนจะคิดว่าไม่อยากสอนลูกน้องให้รู้เยอะ เดี๋ยวรู้เยอะแล้วจะไปเปิดบริษัทมาแข่ง ผมก็บอกได้เลยว่ามันไม่ได้ง่ายขนาดนั้น และถึงแม้ว่าจะไปเปิดบริษัทจริง สุดท้ายเราก็ต้องมีทัศนคติที่ก้าวหน้า มองว่าไม่ใช่คู่แข่งกัน เพราะถ้าเราเลือกเล่นตลาดมันใหญ่พอ มันยังมีอีกหลาย ๆ แง่มุมให้เราเลือกที่จะทำ

วันนี้เราต้องสื่อสารให้ชัดเจน โดยเฉพาะในบริษัทที่เราปกครองอยู่ ให้ทุกคนเข้าใจเป้าหมายเดียวกัน เห็นภาพแบบเดียวกัน และเห็นภาพรวมว่าการทำงานแต่ละส่วนมันร้อยเรียงกันไปยังไง เพื่อให้เกิดการทำงานเป็นทีม

เครดิตภาพ: www.pexels.com/th-th/photo/7706576/

6. Next steps (ขั้นตอนต่อไปของเราคืออะไร)

เมื่อเรามีเป้าหมาย มีแผน มีการสื่อสารต่าง ๆ ที่ชัดเจนแล้ว เราจะต้องบอกผู้ตามด้วยว่า ขั้นตอนต่อไปเราจะทำอะไร ทุกคนในแต่ละส่วนจะต้องทำอะไร เพราะบางทีหลาย ๆ คนพูดแต่เป้าหมายแบบลอย ๆ เช่น เรากำลังจะไปเชียงใหม่ แต่ไม่บอกว่าขั้นตอนต่อไปคืออะไร ผู้ตามแต่ละฝ่ายต้องมีหน้าที่ทำอะไรบ้าง แบบนี้ทุกคนก็จะงง

ดังนั้น คนที่เป็นผู้นำจะต้องมีการบอกอย่างชัดเจนว่า ขั้นตอนต่อไปจะต้องทำอะไร

7. Feed forward system (เรามีระบบในการฟังเสียงสะท้อนหรือเปล่า)

เมื่อเราได้ทำงานร่วมกันไปแล้ว สิ่งหนึ่งที่จำเป็นจะต้องมีก็คือการฟังเสียงสะท้อนของกันและกัน ไม่ว่าจะเป็นผู้นำ หรือผู้ตาม เพราะทุกคนในทีมงานจำเป็นที่จะต้องมีการบอกกล่าวเล่าความ อะไรทำแล้วดี อะไรทำแล้วไม่ดี อะไรควรปรับปรุง อะไรควรพัฒนา เพราะการทำธุรกิจคือการทำงานเป็นทีม

ดังนั้น วันนี้ในองค์กรของเรามีระบบ หรือวัฒนธรรมในการรับฟังเสียงสะท้อนของกันและกันมากน้อยแค่ไหน ถ้าหากไม่ก็ควรที่จะสร้างมันขึ้นมา

เครดิตภาพ: www.pexels.com/th-th/photo/5534767/

8. Continuous adjustment (มีอะไรที่เราควรปรับปรุงบ้าง)

เป็นไปไม่ได้ที่เราทำงานทุกอย่างให้ตรงไปตามแผนแบบสมบูรณ์แบบ โดยไม่มีความผิดพลาด ล้มเหลวใด ๆ เกิดขึ้นเลย ดังนั้น เราจึงต้องมีการสร้างวัฒนธรรมแห่งการรับฟัง และพัฒนาปรับปรุงต่อยอด ตัวเราและคนในองค์กรควรจะมีทัศนคติที่เปิดใจกว้างในเรื่องนี้ โดยเฉพาะคนที่เก่งมาก ๆ จะมั่นใจในความคิดของตัวเองสูง ถ้าปล่อยวางอีโก้ไม่ได้ เกิดทำให้ไม่สามารถเปิดใจรับฟังผู้อื่นได้

9. Celebration (เราฉลองชัยชนะอย่างไร)

สิ่งที่ผมชอบมากที่สุดคือการกำหนดเอาไว้ด้วยว่า เราจะเฉลิมฉลองชัยชนะร่วมกันอย่างไร ถ้างานต่าง ๆ ที่เราวางแผนเอาไว้สำเร็จลุล่วง และทุกคนร่วมแรงร่วมใจ จนไปถึงจดหมายปลายทางได้อย่างปลอดภัย บางบริษัทอาจจะพาไปเที่ยวต่างประเทศ ไปสังสรรค์กินเลี้ยง ฯลฯ สิ่งเหล่านี้ เป็นสิ่งสำคัญมาก

เราการเฉลิมฉลองชัยชนะร่วมกันทั้งหมด เป็นการบ่งบอกว่า ทุกคนมีส่วนร่วมในความสำเร็จครั้งนี้ เป็นการละลายทีมงานเข้าเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ตลอดจนเป็นจิตวิทยาสร้างแรงจูงใจในการทำงานให้ทุกคนมีขวัญและกำลังใจในการที่จะทำงานด้วยกันต่อเนื่องไปเรื่อย ๆ

เครดิตภาพ: www.pexels.com/th-th/photo/7005043/

10. New target (เป้าหมายต่อไปของเราคืออะไร)

เมื่อเราประสบความสำเร็จแล้ว ฉลองชัยชนะแล้ว ไม่ใช่ว่าทุกอย่างสิ้นสุดลงที่ตรงนี้ คือดีใจร่วมกัน เสร็จแล้วก็จบแยกย้ายกันไป แบบนี้ไม่ใช่…แต่ผู้นำจะต้องประกาศเป้าหมายต่อไปในทันที เพราะถ้าจะตีเหล็ก ก็จะต้องตีตอนที่มันกำลังร้อน ๆ ดังนั้น ถ้างานสำเร็จแล้ว ก็ต้องประก่อนเป้าหมายต่อไป เพื่อให้เกิดความต่อเนื่องในการทำงาน เป็นวงรอบของระบบการทำงานที่ขับเคลื่อนไปเรื่อย ๆ สู่การพัฒนายิ่ง ๆ ขึ้นไป

“ความสำเร็จดีใจได้วันเดียว ฉลองให้เต็มที่ในวันนี้
แล้ววันถัดไป คู่แข่งเขาก็พร้อมแล้ว ที่จะกลับมาสู้กับเราอีก”

และทั้งหมดนี้ก็คือ ผู้นำที่ดี ควรคิดและทำอย่างไรในภาวะวิกฤติ ถ้าใครอยากจะฝึกฝนที่จะให้ตัวเองเป็นผู้นำที่ดี ก็อยากให้เอา 10 ขั้นตอนนี้ไปใช้อย่างสม่ำเสมอ แล้วสุดท้ายมันจะกลายเป็นทักษะที่แทรกซึมอยู่ในตัวเรา ทำให้เรากลายเป็นผู้นำที่ดีได้อย่างแน่นอน

บทความที่น่าสนใจอื่นๆ

เก่งแต่ไม่ก้าวหน้า ปีหน้าจะทำอย่างไร

ไร้สาระสิ้นดี!!! ทำงานก็มีผลลัพธ์
แล้วทำไมต้องประจบเจ้านาย บ้าไปแล้ว
ทำไมไม่ให้ผลงานเป็นตัวตัดสินหละ
เคยสังเกตไหมว่าทำไมคนที่เก่งคน
เก่งการนำเสนอ และเจ้านายรัก
ถึงมีโอกาสก้าวหน้ามากกว่าคนอื่น?

อ่านต่อ »

เจ้านายไม่รัก จะก้าวหน้าได้อย่างไร?

ทำงานดีทั้งปี เจ้านายไม่เห็นผลงาน
เจ้านายไม่รู้ เจ้านายไม่เห็นความสำคัญ
เพราะไม่ตรงกับเป้าหมาย ทำให้ตายก็
ไม่ไปไหนซักที
เจ้านายไม่รัก จะก้าวหน้าได้อย่างไร?

อ่านต่อ »

รับสิทธิพิเศษมั๊ย?

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

บันทึกการตั้งค่า

ลงทะเบียนตอนนี้ รับ E-Books ฟรี!!