ผู้นำ 7 ระดับ ตามแบบฉบับ Barrett

[xyz-ips snippet="Podcast"]
พอล ณัฐศิษฏ วาจาสิทธิศิลป์

Barrett คือนักคิด นักพูด และเป็นโค้ชที่ได้รับการยอมรับในระดับโลกว่าเป็นผู้นำทางความคิด และการพัฒนาคุณภาพและจิตวิญญาณของมนุษย์ ซึ่งในปี 1997 เขาได้สร้าง Barrett Values Centre (BVC) หรือศูนย์รวมค่านิยม ตามแบบฉบับของ Barrett นั้นเอง โดยแนวคิดนี้ได้ถูกนำเอาไปใช้ในหลากหลายด้าน รวมถึงด้านภาวะผู้นำและการพัฒนาองค์กรด้วย

ซึ่งผมเอง เป็นคนที่สนใจเรื่องการพัฒนาตนเองเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว ก็เลยมีโอกาสได้ไปศึกษาแนวทางต่าง ๆ และพบว่า เป็นอีกแนวคิดหนึ่งที่ดี และมีประโยชน์ต่อการทำธุรกิจ ที่ควรจะนำมาเล่าสู่กันฟัง

สำหรับแนวคิดของ Barrett นั้นก็บอกได้เลยว่า ไม่ใช่เรื่องใหม่เสียทีเดียว เพราะเป็นการหยิบเอาภูมิปัญญาโบราณของเอเชียที่เรียกว่า “จักระ” ไปอ้างอิง และต่อยอดและอธิบายให้คนยุคใหม่เข้าใจได้ง่ายขึ้นนั้นเอง

เครดิตภาพ: www.pexels.com/th-th/photo/415779/

คลื่นความถี่และการตื่นรู้ทางจิตวิญญาณ

Barrett นำเสนอว่า มนุษย์แต่ละคนนั้นมีคลื่นความถี่ หรือระดับขั้นทางจิตวิญญาณต่างกัน ซึ่งความต่างระดับนี้เองที่ทำให้เรามองเห็นสิ่งเดียวกัน แต่อาจจะมีการรับรู้ที่แตกต่างกัน โดย Barrett มองว่า ระดับการตื่นรู้ทางจิตวิญญาณนั้นมีอยู่ 7 ระดับขั้นด้วยกัน

การที่เรามีองค์ความรู้นี้ จะสามารถนำเอามาใช้ประโยชน์ได้หลายด้าน ทั้งในแง่ของการพัฒนาตนเอง ที่เราจะต้องยกระดับความตื่นรู้ของเราให้สูงขึ้น (ตามทฤษฎีที่จะกล่าวต่อไปนี้) เพื่อให้เราเป็นมนุษย์มีความความสมบูรณ์ เป็นผู้นำที่มีภาวะอันเกื้อกูลให้องค์กรเติบโตไปได้อย่างยั่งยืน

รวมถึงในอีกแง่หนึ่ง เราสามารถที่จะนำเอาภูมิปัญญานี้ ไปใช้ในเรื่องของมนุษยสัมพันธ์ระหว่างบุคคล เพื่อให้เราอ่านคนออก บอกคนได้ ใช้คนเป็น เพราะเราจะรู้ได้ว่าคนที่เรากำลังติดต่อสื่อสารนี้ เขาตื่นรู้อยู่ในระดับขั้นไหน เขามีความต้องการอะไร เราต้องพูดหรือ สื่อสารอย่างไร เขาถึงจะเข้าใจ หรือเกิดแรงบันดาลใจ เป็นต้น ซึ่งจะทำให้การติดต่อสื่อสารเป็นไปอย่างราบรื่น และง่ายขึ้น

ผู้นำ 7 ระดับ ตามแบบฉบับ Barrett

เครดิตภาพ: www.pexels.com/th-th/photo/207324/

1. Crisis Manager

คนที่อยู่ในระดับนี้ จะมีระดับการตื่นรู้ในขั้นแรก เป็นสิ่งที่ติดตัวมาตั้งแต่กำเนิดก็ว่าได้ โดยจะอยู่ในโหมดของการเอาชีวิตรอด (Survival mode) ซึ่งจัดอยู่ในโหมดกลไกอัตโนมัติก็ว่าได้ ซึ่งเป็นความสามารถที่มีติดตัวมาตั้งแต่เกิด ยังใช้สัญชาตญาณดิบเป็นตัวขับเคลื่อน เช่น หิวก็ต้องกิน กลัวก็ต้องหนี ใช้กำลังต่อสู้แย้งชิง เป็นต้น ซึ่งสิ่งเหล่านี้ถือเป็นพื้นฐานของสิ่งมีชีวิตบนโลกเลยก็ว่าได้

แต่สำหรับในมุมของผู้นำองค์กร ผู้ที่อยู่ในระดับนี้ ก็จะมุ่งเน้นที่การอยู่รอด และจะใช้วิธีการควบคุม หรือเผด็จการ จะมีความเข้มงวด เด็ดขาด ซึ่งถ้าหากอยู่ในสถานการณ์วิกฤติก็อาจจะได้ผลดี เพราะต้องการความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน เช่น ทหารที่อยู่ในสนามรบ แม่ทัพจะมีอำนาจเด็ดขาดมาก สั่งคำไหน ต้องเป็นคำนั้น เพราะอันตรายมีอยู่รอบตัว ทุกคนจะต้องปฏิบัติตามคำสั่งของผู้นำเท่านั้น ถึงจะลดความเสี่ยงต่อการสูญเสีย

สำหรับ ในมุมของการทำธุรกิจนั้น การที่ผู้นำจะใช้โหมดนี้ได้อย่างเหมาะสม ก็ต่อเมื่ออยู่ในภาวะวิกฤติ เพราะถ้าหากว่าผู้นำไม่เด็ดขาด พนักงานยังประท้วงว่า โบนัสต้องได้ เงินเดือนต้องขึ้น จะลดเงินเดือนไม่ได้ มันผิดกฎหมายแรงงาน ฯลฯ แล้วจัดการปัญหาตรงนี้ไม่ได้ สุดท้ายบริษัทก็จะไปไม่รอด ดังนั้น ในบางสถานการณ์ ผู้นำก็จะต้องใช้วิธีเผด็จการ เรียกว่าเป็นคำสั่งแกมบังคับเลยทีเดียว

แม้จะดูเป็นคนไม่ดี ดูใจร้าย แต่ก็ต้องยอมรับสถานการณ์ก่อนว่า ในวินาทีนี้ จะต้องเอาตัวรอดให้ได้ก่อน การฟื้นฟูคุณธรรม การดูแลร่างกาย จิตใจ จะเกิดขึ้นหลังจากภาวะวิกฤติผ่านพ้นไปแล้ว

แต่ข้อเสียของผู้นำประเภทนี้ก็คือ ถ้าหากเอาวิธีการนี้มาใช้เป็นประจำ แม้ว่าจะไม่ได้อยู่ในช่วงวิกฤติ ผลเสียที่จะเกิดขึ้นก็คือ พนักงานจะอึดอัด ไม่มีขวัญกำลังใจ และนาน ๆ เข้า พนักงานจะลาออกกันหมด เราสังเกตได้เลย ถ้าองค์กรไหน ผู้นำมีพื้นฐานการบริหารองค์กรแบบนี้เป็นหลัก พนักงานก็จะออกบ่อย และต้องรับพนักงานใหม่อยู่เรื่อย ๆ จนองค์กรไม่สามารถสร้างทีมงาน และรักษาสายสัมพันธ์ในองค์กรได้

เครดิตภาพ: www.pexels.com/th-th/photo/697243/

2. Relationship Manager

การตื่นรู้ในระดับนี้ จะถือเป็นการยกระดับจิตวิญญาณขึ้นมาอีกขั้นหนึ่ง เพราะธรรมชาติของวิวัฒนาการมนุษย์ ถ้าย้อนกับไปสัก 5 พันปีก่อน เมื่อเราเริ่มรู้จักการสร้างที่พัก รู้จักการเพาะปลูก เริ่มหลุดพ้นออกมาจากอันตรายต่าง ๆ สิ่งที่เกิดขึ้นต่อมาก็คือการสร้างสังคมนั้นเอง วิธีคิดในระดับนี้จะเริ่มไม่ใช้สัญชาตญาณดิบเป็นตัวขับเคลื่อนแล้ว เพราะเราไม่ได้เอาตัวรอดแค่เฉพาะตัวเอง แต่เราจะมีการรักษาสายสัมพันธ์กับผู้อื่น มีการให้ มีการแบ่งปัน

สำหรับผู้นำในองค์กร ที่ตื่นรู้ในระดับนี้ เราจะสังเกตได้ง่าย ๆ ว่า เขาจะเน้นเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล เน้นเรื่องการสื่อสารทำความเข้าใจ โน้มน้าวเก่ง ใช้คนเป็น และใจเย็น มีความฉลาดทางอารมณ์ เพื่อนร่วมงานหรือลูกน้องรัก

เราจะเห็นได้เลยว่า คนประเภทนี้จะเป็นคนที่มีความสัมพันธ์แบบเปิด ไม่เก็บตัว มีทักษะการนำเสนอ ซึ่งเป็นจุดที่ทำให้มีโอกาสเติบโตในองค์กรมากว่า คนที่ขยันทำงานหัวปักหัวปำ แต่ขาดเรื่องมนุษย์สัมพันธ์และการติดต่อสื่อสาร เพราะการที่องค์กรที่อยู่รอดแล้ว จะต้องสร้างสังคมแห่งการทำงานร่วมกัน ดังนั้น ถ้าใครสื่อสารเก่ง ก็จะได้รับการสนับสนุนให้เติบโตขึ้นมาเป็นหัวหน้างาน

รวมถึง ในแง่เจ้าของธุรกิจ ถ้าใครเป็นเผด็จการมามาก ๆ แล้ว ใช้อำนาจนิยมมาจนไปสุดท้าง แล้วพบว่าไม่ได้ช่วยให้ธุรกิจเติบโตไปได้มากกว่านี้อีกแล้ว ถ้าเขาเรียนรู้และยกระดับการตื่นรู้ขึ้นมาอยู่ในขั้นที่สอง คือการหันมาพัฒนาด้านสายสัมพันธ์ระหว่างบุคคล ไม่ขับเคลื่อนด้วยความกลัว แต่เอาความรัก ความไว้วางใจมาเป็นแรงหนุนให้ลูกทีมมีความสุขกับการทำงาน ธุรกิจก็จะสามารถเติบโตขั้นไปอีกระดับ

เครดิตภาพ: www.pexels.com/th-th/photo/3771045/

3. Manager Organiser

ถ้าผู้นำในองค์กร เริ่มใช้ความสัมพันธ์นำทีมงานไปเรื่อย ๆ มาถึงจุดหนึ่ง ความใกล้ชิดสนิทสนมกันนี้แหละ จะเป็นตัวขวางกั้นไม่ให้เกิดการพัฒนา เพราะคนอื่น ๆ จะรู้สึกว่าเราเป็นคนกันเอง อะไรก็ได้…ง่าย ๆ ซึ่งนั้นเป็นจุดอ่อนอย่างหนึ่งในการทำงาน

ดังนั้น การตื่นรู้ของผู้นำในระดับที่สามนี้ จะต้องมาเพ่งความสนใจไปที่เนื้องานที่มีคุณภาพ เน้นความรับผิดชอบ ใช้เหตุผลและความคิดในการทำงาน

เราไปสังเกตได้เลยว่า ถ้าผู้นำคนไหนที่มีสายสัมพันธ์ที่ดีกับลูกน้องมาก ๆ แต่มักจะไม่ค่อยมีผลงาน และจะไปตันอยู่แค่ตำแหน่ง Supervisor เท่านั้น หรือเป็นได้แค่ผู้จัดการที่คนรัก แต่ไม่เติบโตในหน้าที่การงาน ส่วนผู้จัดการที่มีการเติบโตนั้น เขาจะมีความสามารถพิเศษอย่างหนึ่ง นั้นก็คือการสร้างสมดุลเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล กับการมีคุณภาพของผลงาน

ด้วยเหตุนี้ ถ้าใครอยากจะพัฒนาตัวเอง ก็จำเป็นที่จะต้องตื่นรู้ในข้อนี้ นั้นก็คือ เรื่องมิตรภาพหรือความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลนั้นไม่เพียงพออีกต่อไปแล้ว เพราะจะต้องพัฒนาเรื่องการทำงานด้วย จะต้องมีการคิด มีเหตุผล มีระบบระเบียบในการทำงาน เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ดี บางครั้งอาจจะต้องขัดใจลูกน้อง เพราะเรายึดมาตรฐานการทำงานด้วย

ถ้าเราเป็นผู้หัวหน้า หรือเป็นเจ้าของบริษัท เราต้องรักษาสมดุลให้ดี คือ คุณภาพงานให้อยู่ที่ 70 % ส่วนเรื่องความสัมพันธ์ให้อยู่สักปร5.ะมาณ 30 %

เครดิตภาพ: www.pexels.com/th-th/photo/288477/

4. Facilitator influencer

ผู้นำในระดับที่สี่นี้ เรียกว่าเป็นจุดเปลี่ยนผ่านของการตื่นรู้เลยก็ว่าได้ เพราะจะเป็นการเปลี่ยนผ่านของการทำงาน จากเดิมที่ใช้ตัวเองเป็นผู้ลงมือขับเคลื่อนระบบการทำงานต่าง ๆ เป็นผู้ปฏิบัติการเอง แต่เมื่อขึ้นมาถึงในระดับนี้ จะมาอยู่ในฐานะของผู้กำกับ หรือผู้ให้ทิศทางสำหรับผู้อื่นแล้ว เช่น อาจจะเป็นคนให้นโยบาย เป็นนักวางแผน มีวิสัยทัศน์ และเป็นคนให้แรงบันดาลใจทีมงาน แต่ไม่ได้ลงไปทำงานด้วยตัวเองแล้ว

ถ้าใครก็ตามที่อยู่ในระดับผู้จัดการ ที่ต้องลงมือทำงานเอง ใช้ความเชี่ยวชาญ ใช้คอนเน็คชั่นของตัวเองทำงาน ทุกอย่างจะต้องตัดสินใจด้วยตัวเองทั้งหมด แล้วไม่พยายามยกระดับการตื่นรู้ขึ้นมาในขั้นที่สี่ สุดท้ายก็จะไม่เติบโต และปรับเปลี่ยนตัวเองได้ยากมาก

โดยถ้าหากองค์กรไหนที่มีผู้จัดการอายุ 50 เป็นจำนวนมาก จะถือเป็นองค์กรที่ปรับเปลี่ยนได้ยากมาก เพราะจะมั่นใจและคุ้นชินกับวิธีการทำงานรูปแบบเดิมที่ตัวเองเคยทำ โดยไม่สามารถจะผันตัวเองขึ้นไปเป็น Director ได้ ดังนั้น ถ้าหากอายุประมาณ 50 ปีขึ้นไป ก็ควรที่จะยกระดับตัวเองขึ้นไปอยู่ในระดับ VP หรือระดับ Director ให้แนวทาง แนวคิด และปล่อยให้ทีมได้ทำงาน ได้มีประสบการณ์ ได้ลองผิดพลาดบ้าง องค์กรก็จะพัฒนาขึ้นไปด้วยเช่นกัน

องค์กรไหน หรือผู้นำองค์กรคนใด ที่อยู่ในขั้นนี้ และกำลังเปลี่ยนผ่าน ก็ควรคำนึงด้วยว่า การที่จะปล่อยให้ทีมงานได้ลงมือทำ ได้ตัดสินใจ ได้ผิดพลาดบ้าง องค์กรนั้นก็ควรที่จะมีความมั่นคงในระดับหนึ่ง คืออย่างน้อยก็มีกระแสเงินสดที่ดี มีเงินสำรองไม่ต่ำกว่า 6 – 12 เดือน เป็นต้น

เครดิตภาพ: www.pexels.com/th-th/photo/4427430/

5. Integrator Inspirer

เมื่อเราสามารถยกระดับการตื่นรู้ของเราขึ้นมาเป็นผู้นำในระดับที่ห้าได้ สิ่งที่จะเกิดขึ้นก็คือรูปแบบ และบทบาทหน้าที่ในการทำงานของเราจะแตกต่างไปจากเดิมอย่างสิ้นเชิง (ซึ่งคนส่วนใหม่มักจะติดอยู่ในระดับที่สี่) เพราะถ้าขึ้นมาในระดับนี้เราจะอยู่ในบทบาทของ Vice President แล้ว คือเป็นผู้ช่วยประธาน เป็นคนที่ดูแลภาพรวมต่าง ๆ ของบริษัท แต่ไม่ได้ลงรายละเอียดแล้ว เพราะเป็นคนดูภาพรวม ให้นโยบายประจำปี

สำหรับเจ้าของบริษัทคนไหนที่ยกระดับการตื่นรู้ขึ้นมาถึงขั้นนี้ได้แล้ว ก็จะต้องมาสนใจที่เรื่องของวัฒนธรรมองค์กร เป็นการให้ความสำคัญในสิ่งที่อาจจะจับต้องไม่ได้ แต่มีความสำคัญต่อธุรกิจ เพราะการสร้างค่านิยมขององค์จะเป็นสิ่งที่ช่วยให้เราสามารถคัดคนที่ไม่ใช่ ออกไปจากองค์กรของเราได้ เหมือนกับการมีเรามีเม็ดเลือดขาว คอยสกัดไม่ให้เชื้อโรคเข้ามาทำให้เป็นปัญหาต่อร่างกาย

เครดิตภาพ: www.pexels.com/th-th/photo/3783577/

6. Mentor Partner

สำหรับคนในระดับนี้จะอยู่ในระดับที่เรียกว่า C-Level หมายถึง มีตำแหน่งเป็นผู้บริหารระดับสูงในบริษัท เช่น CEO (Chief Executive Officer), COO (Chief Operating Officer), CDO (Chief Data Officer), CMO (Chief Marketing Officer) เป็นต้น

ผู้นำในระดับนี้ จะผ่านการยกระดับจิตวิญญาณของตัวเอง วิวัฒนาการมาตามลำดับขั้น ไม่ว่าจะเป็นการเอาตัวรอด มีความฉลาดทางอารมณ์ บริหารจัดการได้ บริหารผลลัพธ์ได้ โน้มน้าวผู้อื่นได้ และสามารถที่จะรู้ว่าแก่นของค่านิยมองค์กรคืออะไร ในขั้นนี้ก็คือการมองหาหุ่นส่วนทางธุรกิจนั้นเอง โดยดูว่าใครพาร์ทเนอร์คนไหนบ้างที่มีค่านิยมตรงกันกับเรา ซึ่งตรงนี้ถือเป็นกุญแจสำคัญในการเลือกพาร์ตเนอร์เลยก็ว่าได้

เครดิตภาพ: www.pexels.com/th-th/photo/5273556/

7. Wisdom Visionary

สำหรับผู้นำที่ตื่นรู้ในระดับนี้ถือว่าเป็นขั้นสูงสุดเลยก็ว่าได้ นั้นก็คือการเข้าถึงระดับของปัญญาญาณ หรือองค์ความรู้ที่ตกผลึกแล้ว สามารถมองเห็นสถานการณ์ต่าง ๆ ได้อย่างทะลุปรุโปร่ง เข้าใจรูปแบบหรือ Pattern ที่เกิดขึ้นว่าคืออะไร และจะเป็นไปอย่างไร เพราะคนที่มีประสบการณ์ในการทำธุรกิจมานาน ๆ จะมองเห็น Pattern ของการเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป ในการทำธุรกิจ ซึ่งมันจะมีลักษณะไม่ต่างกัน ดังนั้น เมื่อจับจังหวะตรงนี้ได้ ก็จะสามารถกำหนดทิศทางได้อย่างถูกต้อง ว่าตอนนี้ควรทำอะไร ไม่ควรทำอะไร จะตัดสินใจอย่างไร ซึ่งจะมีความแม่นยำมาก ถ้าใครสามารถอ่าน Pattern ของสถานการณ์ได้ และถือเป็นองค์ความรู้ระดับสูงในการทำธุรกิจก็ว่าได้ ซึ่งเป็นความสามารถที่สำคัญมาก ที่ผู้นำองค์กรจำเป็นจะต้องมี

และทั้งหมดนี้ก็คือ ผู้นำ 7 ระดับตามแบบฉบับ Barrett ซึ่งเราจะเห็นได้ว่า ผู้นำในองค์กรนั้นถือเป็นส่วนสำคัญมากในการทำให้ธุรกิจเติบโต ถ้าหากผู้นำสามารถยกระดับตัวเองขึ้นไปในระดับที่สูงขึ้นได้ ธุรกิจก็จะเติบโตต่อไปได้ แต่ถ้าหากผู้นำไม่สามารถพาตัวเองให้ก้าวข้ามลำดับขั้นแห่งการตื่นรู้ไปเรื่อย ๆ ธุรกิจก็จะติดอยู่ที่เดิม และในที่สุดก็จะสูญสิ้นไป ดังนั้น การทำธุรกิจ ไม่ใช่แค่การขายของ แต่เป็นศาสตร์อย่างหนึ่ง ที่ต้องใช้ความรู้ความสามารถ ใช้ความคิดในการขับเคลื่อนองค์กร ทำให้ธุรกิจของเราเติบโตไปได้เรื่อย ๆ และมีความยั่งยืน

บทความที่น่าสนใจอื่นๆ

เก่งแต่ไม่ก้าวหน้า ปีหน้าจะทำอย่างไร

ไร้สาระสิ้นดี!!! ทำงานก็มีผลลัพธ์
แล้วทำไมต้องประจบเจ้านาย บ้าไปแล้ว
ทำไมไม่ให้ผลงานเป็นตัวตัดสินหละ
เคยสังเกตไหมว่าทำไมคนที่เก่งคน
เก่งการนำเสนอ และเจ้านายรัก
ถึงมีโอกาสก้าวหน้ามากกว่าคนอื่น?

อ่านต่อ »

เจ้านายไม่รัก จะก้าวหน้าได้อย่างไร?

ทำงานดีทั้งปี เจ้านายไม่เห็นผลงาน
เจ้านายไม่รู้ เจ้านายไม่เห็นความสำคัญ
เพราะไม่ตรงกับเป้าหมาย ทำให้ตายก็
ไม่ไปไหนซักที
เจ้านายไม่รัก จะก้าวหน้าได้อย่างไร?

อ่านต่อ »

รับสิทธิพิเศษมั๊ย?

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

บันทึกการตั้งค่า

ลงทะเบียนตอนนี้ รับ E-Books ฟรี!!