พอล ณัฐศิษฏ วาจาสิทธิศิลป์
ในเวลาที่เราทำธุรกิจ แค่การมีความคิด หรือไอเดียดี ๆ นั้นอาจจะยังไม่พอ เพราะถ้าไอเดียดี แต่ไม่ทำเงิน เราก็เอามาเป็นธุรกิจไม่ได้
ตัวผมเองมีความใฝ่ฝันตั้งแต่เด็ก ๆ เลยว่าอยากจะเป็นเจ้าของธุรกิจ เวลาอยู่กับกลุ่มเพื่อน ๆ ก็จะพูดคุยกันเรื่องนี้ ซึ่งก็มีหลายไอเดียมาก แต่ไอเดียที่ได้มีโอกาสเอามาทำจริง ๆ มีน้อยมาก เพราะพอมาทดสอบและพิจารณาดูแล้วสุดท้ายก็พบว่ามันยังไม่ใช่ไอเดียที่ทำเงิน
ดังนั้น วันนี้ผมจะมาบอกวิธีว่าเราจะทดสอบอย่างไร เพื่อให้รู้ว่าไอเดียไหนเอามาทำธุรกิจได้ และไอเดียไหนเอามาทำธุรกิจไม่ได้
1. Identify the problem
เรื่องนี้หลายคนพลาดมากที่สุด เพราะหลายคนเริ่มต้นจากการที่ตัวเองอยากทำ แต่ทว่ามันไม่ใช่สิ่งที่ลูกค้าต้องการ ไม่ใช่สิ่งที่ลูกค้าจะซื้อ ดังนั้นวิธีการง่าย ๆ ที่สุด เราต้องหาวิธีไปถามลูกค้าเลยว่าเขาต้องการไหม เขาอยากซื้อไหม อย่าคิดเอาเองคนเดียว เพราะถ้าสิ่งที่เราคิดจะดีแค่ไหนก็ตาม ถ้ามันไม่ตอบโจทย์ความต้องการ หรือไม่ได้ช่วยแก้ปัญหาให้ลูกค้าได้สิ่งนั้นก็จะเป็นสิ่งที่ดี แต่ไม่ใช่สิ่งที่ลูกค้าต้องการ สุดท้ายเขาก็ไม่จ่ายเงินซื้อมัน
2. Customer segments
ควรดูด้วยว่ากลุ่มลูกค้าที่เขาอยากได้นั้น จะสามารถเกิดรูปแบบการซื้อซ้ำได้ไหม ถ้าเราไปดูแล้วว่าลูกค้าต้องการจริง แต่เป็นความต้องการของคนกลุ่มเล็ก ๆ แถมยังไม่สามารถที่จะเกิดรูปแบบการซื้อซ้ำได้ สิ่งนี้ก็จะไม่ใช้สิ่งที่ควรเอามาทำธุรกิจ เพราะการทำธุรกิจกับการค้าขายต่างกัน เราไม่ได้ต้องการแค่ซื้อมาแล้วขายไป แต่เราต้องการให้เกิดวงจรการซื้อซ้ำ ๆ ด้วย ดังเราจะต้องดูความต้องการของกลุ่มลูกค้าเป็นหลัก
3. Solution
สิ่งหนึ่งที่ผมเจอเวลาคนมาเรียนกับผมก็คือ คนส่วนใหญ่จะหลงใหลในตัวสินค้า แต่เราลืมเรื่องการแก้ปัญหา เหมือนกับการที่เรายึดติดพาหนะ(สินค้า) แต่เราไม่ได้มองที่เป้าหมาย(การแก้ปัญหาให้ลูกค้า)
ดังนั้น ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจขายสินค้า หรือบริการ ก็ตาม สิ่งที่สำคัญที่สุดก็คือเรากำลังมีภารกิจเพื่อแก้ปัญหาเรื่องอะไร อันนี้คือแก่นสารสาระสำคัญ เพราะถ้าเรายึดเอาเรื่องการแก้ปัญหาให้มั่น เราจะเข้าถึงความต้องการของลูกค้า และเราจะปรับตัวให้รอดได้ในทุกสถานการณ์
4. Unfair advantage
“เรามีอะไรที่ได้เปรียบคู่แข่ง” เรื่องนี้ก็สำคัญ เพราะการทำธุรกิจเราต้องมีของดีติดตัว ต้องมีความเจ๋ง มีจุดเด่น มีข้อได้เปรียบเหนือกว่าคู่แข่ง
แบรนด์ SK-II เป็นแบรนด์เครื่องสำอางของญี่ปุ่น ที่มีสารสกัดพิเทร่า ซึ่งเคยเล่าเอาไว้ในตอนก่อน ๆ แล้ว ว่าตัวโฆษณาของเขามีความโดดเด่น ตัวสินค้าเขามีความโดดเด่น ซึ่งสินค้าอื่นไม่มี จึงทำให้พอเปิดตัวก็โด่งดังเป็นที่สนใจขึ้นมาทันที
5.Proposition
จากข้อที่แล้วคือความได้เปรียบ ข้อดีของเราที่คู่แข่งไม่มี สิ่งต่อมาที่จะต้องสอดรับกันก็คือคุณค่าที่เราจะให้คำมั่นสัญญากับลูกค้า ว่าเราจะช่วยแก้ปัญหาอะไรให้กับลูกค้า ซึ่งมันจะต้องมีความหนักแน่น และจริงจัง เพื่อให้ลูกค้าเกิดความมั่นใจ ซึ่งสิ่งนี้คือผลลัพธ์ที่ลูกค้าจะได้จากเรา
เวลาที่เราจะหาตัวนี้ วิธีการก็คือเราก็ต้องไปถามลูกค้าเหมือนกัน แล้วพยายามถามต่อไปเรื่อย ๆ เพื่อให้คำถามมันค้นลงไปจนเจอรากเหง้าของปัญหาที่ลูกค้ามี และอยากจะขจัดปัญหานั้นออกไป
6.Channels
หลายคนไอเดียดี ทุกอย่างดีหมด แต่มาเสียเรื่องนี้เรื่องเดียวแล้วไปไม่รอดเลยก็มี คือเรื่องชองทางจัดจำน่าย ถ้าสินค้าเราดีแค่ไหน แต่เอาไปขายในที่คนมองไม่เห็น สุดท้ายเราก็ขายไม่ได้ อย่างบางคนอยู่ต่างจังหวัด ไม่มีช่องทางที่ใครจะเห็นเลย ก็ต้องเอาตัวเองเขามาอยู่บนออนไลน์ เลือกดูว่ามีช่องทางไหนบางที่เหมาะกับเรา Facebook, Youtube หรือเว็บต่าง ๆ รวมถึงแอพสั่งอาหารต่าง ๆ ด้วย เพราะถ้าของเราดีอยู่แล้ว ในจุดนี้ก็จะเป็นการเชื่อมต่อให้ลูกค้ามองเห็นเรา
7. Revenue streams
ลักษณะของรายได้ก็คือความสำคัญ ผมเองเคยคุยเจ้าของธุรกิจท่านหนึ่ง ที่บริการเกี่ยวกับเรื่องการวางระบบบัญชี ผมก็ถามเขาว่าถ้าจะวางระบบบัญชีจะต้องใช้เงินเท่าไหร่ เขาก็ตอบผมว่าเริ่มต้นที่ 400,000 – 700,000 บาท ผมก็รู้สึกว่าราคาสูงจัง ซึ่งแน่นอนว่าผมไม่ได้คิดแบบนี้คนเดียว ซึ่งโมเดลรายได้แบบนี้ถือเป็นอุปสรรคอย่างหนึ่งในการตัดสินใจของลูกค้า
ผมก็เลยแนะนำว่าแทนที่เราจะเก็บเงินทีเดียวเป็นก้อนใหญ่ ๆ เลย เรามาแบ่งเป็นส่วน ๆ แล้วทำสัญญาไว้ เช่น 3+12 คือ ทำการวางระบบ 3 เดือน และหลังจากนั้นอีก 12 เดือนเป็นการติดตามการดำเนินงาน เพื่อให้คำแนะนำ ปรึกษา พอเฉลี่ยแล้วจะเป็นค่าใช้จ่ายรายเดือนออกแล้วมันก็ทำให้ลูกสึกว่าไม่ได้แพงมาก ทำให้ลูกค้าตัดสินใจง่ายขึ้นที่จะจ่าย
8. Cost structure
บางทีไอเดียดี ทุกอย่างได้ หมด แต่สุดท้ายต้นทุนมันแพงมาก ดูเรื่องราคาก็ไม่ผ่าน ก็ต้องไปหาวิธีในการบริหารจัดการต้นทุนดู ผมก็บอกว่าในช่วงของการทำปรูฟเวนคอนเซิปเนี้ย ต้นทุนแพง ก็ทำ ๆ ไปเถอะ ไม่ต้องเรื่องมาก อย่าไปทำที่เดียวสังสต็อกล้านบาท สองล้านบาท ผมเจอไม่รู้ว่าเป็นอะไร ก็มักจะไปเจอคนแบบนี้แล้วมาให้ผมแก้ไขก็น่าเสียดาย ทำน้อย ๆ สิบชิ้นร้อยชิ้น แต่ถ้าธุรกิจไหนที่มันใหญ่ มาก ๆ ก็ทำสักพันชิ้น ถ้าทำแล้วลูกค้ายอมรับ ลูกค้ารับได้ ก็ไปดูว่าต้นทุนจะทำยังไงให้ลูกค้ารับได้
9. Key metrics
เวลาที่เรามีไอเดียดี ๆ เราจะต้องคิดด้วยว่าความสำเร็จของมันจะมีหน้าตาเป็นแบบไหน ดังนั้น เราจะต้องมีการกำหนดหมุดมายเอาไว้ด้วย เช่น ที่ผมกำลังทำธุรกิจใหม่อยู่ ซึ่งตัวโมเดลธุรกิจนี้จำเป็นที่จะต้องมีขั้นตอนของการรวบรวมข้อมูล โดยผมจะให้คนเข้ามาทำแบบทดสอบ ซึ่งหมุดหมายแรก ผมก็จะกำหนดเอาไว้ว่าให้คนเข้ามาประมาณ 100 คนแรกก่อน แล้วดูว่าจะมีคนเข้ามาทำไหม ผลจะเป็นยังไง แล้วในขั้นต่อไปก็จะเป็นพันคน หมื่นคน หรือแสนคน ไปจนกระทั่งถึงล้านคน ดังนั้น KPI ที่ผมเอามาชี้วัดนี้ จะทำให้ผู้สามารถดำเนินงานไปได้เรื่อย ๆ จนกระทั่งไปถึงเป้าหมายสุดท้ายคือ 1 ล้านคน
ซึ่งหมุดหมายในแต่ละขั้นจะทำให้เรารู้ว่าเราได้เข้าใกล้เป้าหมายแล้วหรือยัง นี้คือความสำคัญที่ไอเดียจะต้องมีตัวชีวิตด้วย
และทั้งหมดนี้ก็คือขั้นตอน หรือหลักการที่เราจะเอาไปใช้เพื่อดูว่าไอเดียดี ๆ ของเรานั้น สามารถที่จะเอามาทำเป็นธุรกิจได้จริงไหม เพราะก่อนที่เราจะลงมือทำการใหญ่ เราจะต้องมีการตรวจสอบแนวคิดเสียก่อนว่ามันใช้ได้ไหม ซึ่ง วันนี้ถ้าใครกำลังมีไอเดียอะไรใหม่ ๆ ก็เอาหลักการเหล่านี้ไปตรวจสอบแนวคิดของตัวเองได้เลย