เพิ่มยอดขายง่าย ๆ โดยการใช้ CRM

[xyz-ips snippet="Podcast"]
พอล ณัฐศิษฏ วาจาสิทธิศิลป์
CRM ย่อมาจากคำว่า (Customer Relationship Management) ซึ่งถือเป็นเครื่องมืออย่างหนึ่งในการบริหารจัดการความสัมพันธ์กับลูกค้า และถือเป็นเรื่องที่มีการพูดถึงอย่างเยอะพอสมควร เนื่องจากเป็นสิ่งหนึ่งที่จะช่วยให้เราเพิ่มยอดขายได้ แต่โดยพื้นฐานแล้ว ผมอยากให้เราทำความเข้าใจก่อนว่า CRM นั้น ไม่ใช่ซอฟต์แวร์ แต่ทว่าเป็นกระบวนการในการดูแลลูกค้า ซึ่งถ้าหากเรายังมีความเข้าใจกระบวนการนี้ เราก็จะเข้าใจวิธีการบริหารความสัมพันธ์กับลูกค้า และยอดขายของเราก็จะเพิ่มขึ้น แต่ถ้าหากเรายังไม่เข้าใจเรื่องพื้นฐานเหล่านี้ การที่เราเอาซอฟต์แวร์มาใช้ก็ไม่มีประโยชน์อะไร ดังนั้น เราจึงควรมาเรียนรู้ว่าหลักของการจะเก็บ Data คืออะไร แล้ว Data ในแต่ละตัวมันจะเอาไปใช้ประโยชน์อะไร ซึ่งจะนำไปสู่การพัฒนาและเพิ่มยอดขายได้ในที่สุด
เครดิตภาพ: www.pexels.com/th-th/photo/590022/

1. อยากรู้เพื่อเอาไปช่วยพัฒนาเรื่องอะไร (Why data is collected for?)

เราต้องรู้ก่อนว่าข้อมูลที่เราต้องการนี้จะเอาไปพัฒนาเรื่องอะไร เพื่อว่าในการเก็บข้อมูลนั้นจะได้ไม่กว้างจนเกินไป เพราะบางคนเวลาจะเก็บข้อมูล จะเก็บแบบกว้างมาก ซึ่งมีผลเสียคือเวลาที่เราให้ลูกค้ากรอกข้อมูลเยอะ ๆ ถ้าถามเกิน 3 – 5 ข้อ ลูกค้าก็จะเริ่มเบื่อแล้ว หรือบางคนคิดถามมาเยอะ ๆ เป็น 10 – 20  ข้อ แต่สุดท้ายไม่ได้เอาไปใช้ประโยชน์เลยก็มีเหมือนกัน

ดังนั้น ในตอนที่ออกแบบชุดคำถาม เราจะต้องคิดก่อนว่า เราจะเอา Data ไปพัฒนาเรื่องอะไร แล้วเวลาเก็บข้อมูลลูกค้า เราถามใช้ชัด ๆ เท่าที่ต้องใช้จริง ๆ

2. ข้อมูลอะไรที่จะช่วยให้การพัฒนานั้นเกิดขึ้น (What data to collect?)

จากข้อที่แล้วเมื่อเรารู้แล้วว่าเราจะพัฒนาเรื่องอะไร ในลำดับต่อไปเราก็จะต้องมาดูว่า มีข้อมูลอะไรบ้างที่จะช่วยให้เกิดการพัฒนาในประเด็นที่เราต้องการ เช่น ถ้าเราอยากเพิ่มยอดขายของเรา เราก็ต้องมาคิดว่าแล้วจะมีข้อมูลอะไรบ้างล่ะ ที่จะช่วยให้เกิดการเพิ่มยอดขายได้บ้าง    

เครดิตภาพ: www.pexels.com/th-th/photo/3760067/

3. ข้อมูลที่จะเก็บควรเก็บตอนไหน (When to collect data?)

ในการเก็บข้อมูล เราจะต้องพิจารณาด้วยว่าเราจะเก็บข้อมูลตอนไหน เพราะไม่ใช้ว่าเราจะสามารถเก็บข้อมูลได้ในทุกช่วงเวลา เนื่องจากในบางช่วงเราก็อาจจะไม่เหมาะ เพราะลูกค้าอาจจะยังไม่อยากตอบ หรือถ้าจำเป็นต้องตอบ เมื่อลูกค้าไม่อยากทำ เขาก็อาจจะตอบมั่ว ๆ เพื่อให้เสร็จ ๆ ไปก็ได้ แล้วเราจะไม่ได้ Data ที่มีคุณภาพ เพราะมันไม่ใช่ความจริง

ดังนั้น เราจะต้องออกแบบให้ดี ว่าเราควรที่จะมีการเก็บข้อมูลในช่วงไหนบ้าง เพื่อให้เราได้ข้อมูลที่เป็นข้อเท็จจริง บางกรณีเราอาจจะไม่จำเป็นต้องเก็บข้อมูลทีเดียวทั้งหมดทีเดียวก็ได้ แต่แบ่งการเก็บข้อมูลออกเป็นช่วง ๆ ตามความเหมาะสมของสถานการณ์ เช่น เวลาที่ผมขายคอร์สสัมมนา ผมจะถามแค่ชื่อ เบอร์โทร อีเมล์ แล้วจบเลย เพราะในตอนนั้นผมไม่ต้องการข้อมูลอะไรนอกจากนี้ รวมถึงในช่วงเวลาที่ลูกค้ากำลังตัดสินใจซื้อสินค้า เราไม่ควรจะต้องให้ลูกค้ามากรอกข้อมูลอะไรมากมาย แต่เราจะต้องทำให้สั้นที่สุด เพื่อปิดการขายให้เร็ว โดยเป็นการกรอกข้อมูลไม่กี่ข้อแล้วจบ เสร็จแล้วจ่ายเงินเลย

หลังจากนั้น ถ้าหากยังมีข้อมูลอื่น ๆ ที่เราต้องการ เช่น ทำอาชีพอะไร ทำมานานหรือยัง มีทีมงานกี่คน เป้าหมายในการทำธุรกิจคืออะไร เราค่อยไปตามเก็บเอาทีหลังในช่วงที่ลูกค้าเข้าสัมมนาก็ได้           

4. ใครเป็นผู้เก็บข้อมูล (Who is responsible for collection?)

ผู้เก็บข้อมูลก็ถือว่ามีส่วนสำคัญมาก เพราะแม้แต่ผมเองที่ได้มีการออกแบบฐานข้อมูลของตัวเองมาหลายปีแล้ว คิดว่าตัวเองมีความเข้าใจเรื่องนี้ดีพอสมควร แต่ปรากฏว่าเมื่อผมได้ให้คนที่เขาชำนาญในด้านนี้มาช่วยออกแบบการจัดเก็บฐานข้อมูลให้ ก็ทำให้ได้พบว่า ยังมีอีกหลายเรื่องมากที่ผมมองข้าม เช่น ฐานข้อมูลที่เรากำลังจะจัดเก็บนี้ มีความเกี่ยวเนื่องกับทีมงานของเราหลายฝ่าย ไม่ว่าจะเป็นฝ่ายขาย ฝ่ายการตลาด ฝ่ายบัญชี เป็นต้น

รวมถึงการเก็บข้อมูลไม่จำเป็นจะต้องให้ลูกค้ากรอกเองทุกเรื่อง เพราะข้อมูลบางอย่างเราสามารถที่จะเก็บได้โดยอัตโนมัติ เช่น ลูกค้ามาจาก Face book หรือ Line หรือเว็บไซต์

ดังนั้น ถ้าเป็นไปได้ก็ควรที่จะมองให้รอบด้าน อาจจะหาผู้ช่วยที่มีความชำนาญ เพื่อให้มีการออกแบบ และจัดเก็บให้เหมาะสม

เครดิตภาพ: www.pexels.com/th-th/photo/5797997/

5. เก็บข้อมูลที่ไหน (EXCEL and paper is a crime)

เรื่องนี้สำคัญมาก เพราะข้อมูลที่เก็บจะต้องมีความปลอดภัย รวมถึงจะต้องสามารถแชร์ฐานข้อมูลไปยังบุคคลที่เกี่ยวข้องกับเราได้ด้วย

หลาย ๆ บริษัทยังใช้รูปแบบการเก็บข้อมูล โดยบันทึกลงใน Excel หรือเขียนในสมุด ผมบอกได้เลยว่า การเก็บ Data แบบนี้ไม่มีความปลอดภัย และไม่มีประโยชน์เลย เพราะเป็นการเก็บไว้ในเครื่องตัวเองคนเดียว ถ้าโดนไวรัสขึ้นมาข้อมูลเหล่านี้จะก็จะหายไปหมดเลย รวมถึงถ้าไม่มีการแชร์ Data ให้คนอื่นที่เกี่ยวข้อง สุดท้ายข้อมูลชุดนี้ก็ไม่เกิดการนำไปใช้ประโยชน์อะไรเลย

ดังนั้น การเก็บข้อมูลที่ถูกต้องจะต้องเก็บผ่านระบบ Cloud และต้องใช้ซอฟต์แวร์ CRM เพื่อให้ทีมงานที่เกี่ยวข้องกับเรา และควรจะรู้ข้อมูลนี้ ได้เข้าถึงข้อมูลอย่างถูกต้อง ปลอดภัย

6. ใครสามารถเข้าถึง และเข้าถึงอะไรบ้าง (Who can access)

เราจะต้องมีการระบุสิทธิ์ในการเข้าถึงชุดข้อมูลที่จัดเก็บเอาไว้ด้วย ว่าใครสามารถเข้าถึงได้บ้าง และสามารถเข้าถึงได้มากน้อยแค่ไหน ข้อมูลบางอย่างถ้าใครไม่ควรจะรู้ เราก็ไม่ต้องให้รู้ เช่น ถ้าผมเป็นผู้จัดการฝ่ายผลิต ผมอาจจะไม่จำเป็นต้องรู้ว่าลูกค้าจ่ายเงินมาโดยเงินสด หรือผ่านบัตรเครดิต เพราะขอบขายงานของผมไม่ได้เกี่ยวข้องกับชุดข้อมูลนี้

แต่สิ่งสำคัญที่ผมจะต้องรู้ก็คือ จำนวนยอดสั่งซื้อคือเท่าไหร่ ลูกค้าสั่งซื้อซ้ำบ่อยแค่ไหน ลูกค้ามักจะสั่งซ้อในช่วงไหนบ้าง นี้คือชุดข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับฝ่ายผลิตที่จำเป็นต้องรู้

เครดิตภาพ: www.pexels.com/th-th/photo/374074/

7. รายงานที่ควรเห็นคืออะไร ใช้ตัดสินใจได้ไหม (What data to see?)

ธรรมชาติของการทำงาน โดยเฉพาะคนที่เป็นผู้บริหารจะอยากรู้ทุกเรื่อง เวลาที่มีการรายงานก็มักจะอยากรู้ทุกสิ่งทุกอย่างที่เกิดขึ้น ซึ่งในความเป็นจริงแล้วการเก็บข้อมูลต่าง ๆ มันจะมีรายละเอียดเยอะมาก แล้วบางเรื่องที่รายงานข้อมูลเยอะแยะมากมายเข้ามา บางทีมันเป็นข้อมูลส่วนเกินเพราะผู้บริหารก็ไม่ได้เอาข้อมูลนี้ไปตัดสินใจอะไร เนื่องจากไม่ได้เกี่ยวข้อกับบทบาทหน้าที่โดยตรง

ดังนั้น เราจะต้องโฟสกัสในส่วนที่เป็นข้อมูลสำคัญ และเกี่ยวข้องกับการตัดสินใจในบทบาทหน้าที่ของการทำงานเป็นหลัก เรื่องบางอย่างที่ไม่เกี่ยวข้องก็ไม่จำเป็นต้องรายงานข้อมูลเหล่านั้น เพราะปริมาณข้อมูลไม่สำคัญเท่ากับคุณภาพของข้อมูล

8. ฝึกฝนในการตั้งคำถาม (how to read and interpret that data?)

ข้อสุดท้ายสำคัญมาก เมื่อเราได้รับรายงานข้อมูลมาแล้ว เราจะต้องรู้ว่าจะใช้ประโยชน์อะไรจาก Data หลายคนได้รับรายงานมา แต่เอาไปใช้ไม่เป็น

ดังนั้น เราจะต้องฝึกฝนโดยการตั้งคำถามเสมอ ๆ ว่า “ข้อมูลเหล่านี้มันแปลว่าอะไร” ถ้าเราได้ข้อมูลมาแล้วแต่แปลไม่ออก สุดท้ายมันจะไม่เกิดประโยชน์อะไรเลย โดยเฉพาะถ้าเรายากเพิ่มยอดขาย เราจะต้องแปลข้อมูลให้ได้

ผมเองเป็นคนหนึ่งที่ฝึกฝนเรื่องนี้มาเป็นเวลานาน จนในเวลาที่ผมอ่านรายงาน ผมจะรู้ได้เลยว่าเป็นข้อมูลจริง หรือไม่จริง ซึ่งถ้าใครถึงขั้นพอได้รับรายงานแล้วแปลข้อมูลได้ว่ามันจริงหรือเท็จ แม้แต่ลูกน้องก็จะหลอกคุณไม่ได้

และทั้งหมดนี้ก็คือหลักการ 8 ข้อ ของการใช้ CRM เพื่อเพิ่มยอดขาย โดยถ้าใครเป็นคนที่ไม่เคยเก็บข้อมูลมาก่อนเลย แนวทางเหล่านี้ถือเป็นหลักการพื้นฐานที่สามารถเอาไปใช้ได้เลย เพื่อที่จะทำให้การเก็บข้อมูลของธุรกิจเราเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และเป็นเครื่องมือในการดูแลลูกค้า จนสามารถเพิ่มยอดขายได้ในที่สุด

บทความที่น่าสนใจอื่นๆ

เก่งแต่ไม่ก้าวหน้า ปีหน้าจะทำอย่างไร

ไร้สาระสิ้นดี!!! ทำงานก็มีผลลัพธ์
แล้วทำไมต้องประจบเจ้านาย บ้าไปแล้ว
ทำไมไม่ให้ผลงานเป็นตัวตัดสินหละ
เคยสังเกตไหมว่าทำไมคนที่เก่งคน
เก่งการนำเสนอ และเจ้านายรัก
ถึงมีโอกาสก้าวหน้ามากกว่าคนอื่น?

อ่านต่อ »

เจ้านายไม่รัก จะก้าวหน้าได้อย่างไร?

ทำงานดีทั้งปี เจ้านายไม่เห็นผลงาน
เจ้านายไม่รู้ เจ้านายไม่เห็นความสำคัญ
เพราะไม่ตรงกับเป้าหมาย ทำให้ตายก็
ไม่ไปไหนซักที
เจ้านายไม่รัก จะก้าวหน้าได้อย่างไร?

อ่านต่อ »

รับสิทธิพิเศษมั๊ย?

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

บันทึกการตั้งค่า

ลงทะเบียนตอนนี้ รับ E-Books ฟรี!!