พอล ณัฐศิษฏ วาจาสิทธิศิลป์
ในแง่ของการทำธุรกิจ ช่วงระยะเริ่มต้น ระยะกลาง และระยะที่ธุรกิจของเราเติบโตแล้ว วิธีการในการทำธุรกิจแต่ละระยะจะไม่เหมือนกัน ซึ่งผมจะเรียกเจ้าสิ่งนี้ว่า Operating system หรือระบบปฏิบัติการ
เวลาที่เราใช้คอมพิวเตอร์ จะเห็นได้ว่าผ่านไปสักระยะหนึ่งก็จะต้องมีการอัพเกรดระบบ ธุรกิจก็เช่นเดียวกัน เวลาเราทำธุรกิจไปแล้วสักระยะหนึ่ง เราก็จะต้องมีการเปลี่ยนระบบปฏิบัติการเหมือนกัน เพราะไม่มีระบบไหนที่จะเอาไปใช้งานได้ตลอดกาล เนื่องจากการทำธุรกิจในแต่ละระยะนั้น เงื่อนไขผลลัพธ์ที่เราต้องการนั้นไม่เหมือนกันนั้นเอง
ซึ่งระบบปฏิบัติการที่ว่านี้จะมีอยู่ 7 ระดับด้วยกัน ซึ่งถ้าคนที่ทำธุรกิจมาแล้วประมาณ 3-5 ปี ส่วนใหญ่จะอยู่ในระดับที่ 3
หรือระดับที่ 4 ก็คือ
- มีฐานลูกค้าแล้ว
- มีสินค้าขายดี
- มีกระแสเงินสด
- มีตัวคุณเป็นส่วนสำคัญในการหาเงิน
***ใครที่อยากจะรู้เกี่ยวกับ Operating system 7 ระดับเพิ่มเติม ก็สามารถทักทายกันเข้ามาได้ที่ LineOA ของผม และพิมพ์คำว่า “แผน” ก็จะรู้ว่า Operating system 7 ระดับนี้คืออะไร
เมื่อทำธุรกิจมา 3-5 ปี สิ่งที่คุณควรหยุดทำ
1. หยุดฉลาด
ทุกคนที่เป็นเจ้าของธุรกิจ เวลาทำงานไปนาน ๆ มันจะเกิดความชำนาญ ความมั่นใจในตัวเองและหลาย ๆ คนจะคิดว่าฉันคือคนที่เก่งที่สุดในบริษัท และคนอื่น ๆ ใช้ไม่ได้เลย ต้องค่อยให้เราคิด ให้เราตัดสินใจอยู่คนเดียว
ซึ่งจริง ๆ แล้วไม่ใช้เลย…
ผมแนะนำให้หยุดฉลาด หยุดตอบคำถามทุกอย่างด้วยตัวเอง แม้ว่าเราจะเป็นคนบุกเบิก เป็นคนก่อตั้งบริษัท ผ่านประสบการณ์ต่าง ๆ มากที่สุดในบริษัท แต่มันก็เป็น Operating system ไปแล้ว และถ้าเราอยากให้ธุรกิจโตขึ้น เราจะต้องหยุดตอบคำถามด้วยตัวเอง เพราะการตอบคำถามด้วยตัวเองจะไม่ทำให้ธุรกิจของเราโตไปกว่านี้แล้ว
และสิ่งที่เราควรจะต้องทำความเข้าใจก็คือ
- เราจ้างพนักงานเพื่อแก้ไขปัญหา ถ้าเขาแก้ไขเองไม่ได้ ก็ถือว่าเราจ้างคนไม่เป็น ใช้คนไม่เป็น และมันเป็นความผิดพลาดของเราเอง
- ถ้าเราจ้างคนมาแล้ว แต่ปัญหามันเกินวิสัยของตำแหน่งงาน เราก็ควรมีพี่เลี้ยงที่ไม่ใช่ตัวเรา แต่จะต้องเป็นรุ่นพี่ หรือหัวหน้างานค่อยช่วยตอบคำถาม ถ้าเราไม่มีสิ่งนี้ มันคือความผิดพลาดของเรา ที่ไม่สามารถหาคนมาสนับสนุนงานในส่วนนี้
- ถ้าพนักตอบไม่ได้ โดยที่ไม่ได้ขวนขวายอะไรด้วยตัวเองเลย แสดงว่าเขาไม่ต้องการจะพัฒนาตัวเอง ก็ควรลาออกไป
2. หยุดเข้า ooffice 15 วัน
คุณลองไม่ไปทำงานสัก 15 วัน หรือใครใจถึงลองสัก 30 หรือ 90 วันเลยก็ได้ แต่ผมอยากจะแนะนำสำหรับผู้เริ่มต้นคืน หยุดเข้า office 15 วัน ซึ่งหลาย ๆ แค่คิดก็หลอนแล้ว เพราะว่าแค่เราไม่อยู่ 1 วัน บริษัทก็จะแย่แล้ว แต่ถ้าเราหยุดไป 15 วันเลย มันจะเละแค่ไหน
ซึ่งผมก็บอกได้เลยว่า ถ้าเราไม่ได้ทำระบบเอาไว้ให้ดี แน่นอนว่ามันมีปัญหาแน่ ๆ แต่ประโยชน์ก็คือ พอเรากลับมาแล้ว เราจะมาเช็คได้ว่า ปัญหาในเชิงระบบการทำงานนั้นมันอยู่ตรงจุดไหน ถ้าตรงไหนมันแย่เราก็จะได้รู้ และพัฒนาให้มันดีขึ้น โดยจะต้องทำ 3 อย่าง ได้แก่
- พัฒนาคนตรงนั้น (แผนกไหนมีปัญหา พัฒนาตรงนั้น)
- พัฒนากระบวนการเพื่อช่วยคนตรงนั้น (แม้ว่าคนตรงนั้นทำงานไม่ดี แต่มีกระบวนการที่ออกแบบไว้ดี มันก็ช่วยได้)
- พัฒนาแนวทางการตัดสินใจ เขียนออกมาเป็นคู่มือ (ถ้ามีโจทย์ปัญหาแบบนี้ พนักงานควรตัดสินใจแบบไหน)
3. หยุดเป็นผู้นำในการประชุม
ถ้าเราทำงานมา 3-5 ปี มีพนักงานในบริษัทอยู่ 20 คนขึ้นไป ถ้าเราทำงานโดยไม่มีการประชุมเลย ทีมงานจะทำงานได้ยากมาก เพราะเขาไม่รู้ว่าตัวเองจะต้องทำอะไร แผนกอื่นทำอะไร และบริษัทมีเป้าหมายอะไรที่ทุกคนจะต้องช่วยกันทำให้บรรลุวัตถุประสงค์ การทำงานร่วมกันเป็นทีมจะแย่มาก ๆ เพราะขาดการประสานงานกัน
แต่ในกรณีนี้คือ เรามีการประชุมอย่างสม่ำเสมอดีแล้ว โดยที่เจ้าของบริษัทจะเป็นผู้นำในการประชุมด้วยตัวเอง ซึ่งถ้าเราอยากจะให้บริษัทเติบโตขึ้น หากเราเป็นเจ้าของธุรกิจ เราไม่ควรจะเป็นผู้นำในการประชุม แต่จะต้องเปิดโอกาสให้พนักงานได้ลองดำเนินการประชุมกันเอง ซึ่งกระบวนการนี้จะทำให้เราเห็นว่า
- ใครบ้างที่จะลุกขึ้นมาเป็นผู้นำได้ ถ้าทุกคนเกี่ยงกัน ไม่มีใครลุกขึ้นมาเป็นผู้นำเลย แสดงว่าบริษัทคุณจะไม่โตไปกว่านี้แหละ เพราะคนที่คุณจ้างมาทำงานด้วย ล้วนแล้วแต่เป็นผู้ตามทั้งสิ้น ไม่มีใครเป็นผู้นำเลย
- ใครเป็นผู้ทำลาย มันจะมีคนประเภทมือไม่พาย แต่เอาเท้าราน้ำ เราจะเห็นเลยว่าใครบ้างเป็นคนประเภทนี้ ซึ่งเราก็จะต้องไปพิจารณาต่อว่า เราจะทำอย่างไรกับคนเหล่านี้
- ใครกินแรงเพื่อน เป็นพวกโยนงาน ปัดความรับผิดชอบ คุณก็จะเห็นเลยว่าใครมีลักษณะแบบนี้
การที่เราไม่ได้เป็นผู้นำในการประชุด แต่ถอยออกมาเป็นผู้สังเกตการณ์ เราจะมองเห็นภาพรวมของพนักงานได้ชัดขึ้น และถ้าหากพนักงานที่อยู่กับเรา ยังขนาดคุณสมบัติทั้งหมดที่ว่านี้ แสดงว่ามันเกินความสามารถเราไปแล้ว และควรจ้างบริษัทพัฒนาบุคลากรมาช่วย
รวมถึงการรันประชุมมีความสำคัญต่อการทำธุรกิจมาก สมมุติว่าถ้าหากวันนี้เราจะหายไปจากบริษัท 6 เดือน แสดงว่าพนักงานทุกคนจะต้องประสานงานกัน แต่ถ้าเขาประสานงานกันไม่รู้เรื่อง ไม่รู้ว่าจะทำงานร่วมกันไปในทิศทางไหน ก็แสดงว่าบริษัทจะเกิดความเสียหายได้
และถ้าหากเราจะให้พนักงานได้รันประชุมเอง เราควรที่จะมีกรอบให้เขา 4 อย่าง ดังนี้
- กำหนดเรื่องที่จะคุยประจำสัปดาห์
- กำหนด KPI ที่เราอยากจะติดตามจากแต่ละแผนก
- กำหนดให้พนักงานแต่ละคนหาคำตอบมาก่อน
- สร้างวัฒนธรรม Feed forward คือการฟังเสียงสะท้อนจากเพื่อน ๆ โดยต้องเป็นคำแนะนำที่ประกอบไปด้วยความหวังดีโดยเนื้อแท้ มุ่งหวังที่อยากจะให้เพื่อนพัฒนาตัวเองต่อไปได้
ถ้าเราวางกรอบเอาไว้แบบนี้ การประชุมก็จะเกิดขึ้นได้ โดยที่ไม่มีเรา
4. หยุดดีลกับลูกค้าเอง
คนส่วนใหญ่ที่เป็นเจ้าของธุรกิจมา 3-5 ปี มีสินค้าตัวชูโรง มีทีมงาน 30-50 คน จะมีภาวะอย่างหนึ่งคือ ลูกค้าอยากดิวกับเราโดยตรง เพราะ
- ลูกค้าเชื่อมั่นเมื่อได้เห็นหน้าเรา
- ลูกค้าสบายใจเมื่อได้เห็นหน้าคุณ
- ลูกค้าซื้อสินค้าก็เพราะคุณ
อย่างผมเองในช่วงแรก ๆ ที่ฝึกการเอาตัวเองออกจากธุรกิจ ก็ไม่ได้บอกกับลูกค้า เพราะที่ผ่านมาผมจะต้องเข้าประชุมด้วยทุก ๆ รอบ และส่วนใหญ่ก็เป็นเรื่องเดิม ๆ ผมก็อยากให้ทีมงานทำแทนได้ ซึ่งก็มีบางรอบที่พอนัดเสร็จแล้วผมไม่ได้ไป พอไม่ไปลูกค้าก็ไม่ยอมตัดสินใจ ไม่ยอมจบงานถ้าผมไม่ไป ผมก็ต้องไป แล้วลูกค้าก็บ่นว่าทำไมผมไม่ไป
ครั้งต่อมาผมก็ไม่ไปอีก หรือถ้าครั้งไหนไปผมก็จะให้ทีมงานเป็นคนนำเสนอตลอด จนกระทั่งผ่านมา 6 เดือน ผมก็ไม่ต้องไปหาลูกค้าเอง และไม่มีปัญหาอะไร เพราะทีมงานสามารถดีลกับลูกค้าเองได้
5. หยุดคิดว่าโลกจะแตกถ้าไม่มีตัวคุณ
โลกมันอยู่มาแบบนี้ก่อนที่เราจะเกิด โลกมันก็อยู่มาได้ ดังนั้น ถ้าวันไหนที่เราไม่อยู่ โลกมันก็ไม่ได้แตก อย่าคิดว่าโลกขาดเราไม่ได้ ซึ่งผมจะแนะนำให้เราลองแบ่งงานออกไปว่างานอะไรเป็นงานสำคัญ 10 อย่าง เพื่อเป็นงานสำคัญที่เราจะต้องทำประจำเดือน โดยมีรายละเอียดดังนี้
- เลือกงานสำคัญที่เราจะต้องต้องทำเองซัก 7 ข้อ แล้วมอบหมายให้คนอื่นทำ 3 ข้อ ใน 6 เดือน
- 6 เดือนต่อมา เลือกงานสำคัญซัก 5 ข้อ แล้วมอบหมายให้คนอื่นทำซัก 5 ข้อ ใน 12 เดือน
- 12 เดือนต่อมา เลือกงานสำคัญซัก 3 ข้อ แล้วมอบหมายให้คนอื่นทำซัก 7 ข้อ ใน 18 เดือน
ถ้ากระบวนการนี้ผ่านแล้วยังไม่มีพัฒนาการอะไรที่ดีขึ้น แสดงว่าทีมงานของเรามีปัญหาแล้ว เราต้องมีกระบวนการในการพัฒนาพนักงานเพิ่มขึ้น อาจจะมีการฝึกอบรมต่าง ๆ และถ้าหากยังไม่สามารถพัฒนาได้อีก เราก็ต้องทบทวนแล้วว่าเราจะหาคนอื่นมาทำแทนหรือเปล่า
6. หยุดควบคุมทุกอย่าง ไม่มีอะไร 100%
ต่อให้คุณทำเองทุกสิ่งทุกอย่าง มันก็ไม่ใช่สิ่งที่จะควบคุมว่ามันจะได้ดั่งใจนึกแบบ 100% แล้วนับประสาอะไรกับการที่เราให้คนอื่นมาทำแทนเรา การไม่สมบูรณ์แบบ 100% มันก็เป็นเรื่องธรรมดา
ดังนั้น เราควรที่จะทำดังนี้
- สร้าง sandbox เพื่อให้ทีมงานได้ล้มเหลวบ้าง โดยอาจจะกำหนดระดับความเสียหายที่เราสามารถยอมรับได้เอาไว้ด้วย
- สร้าง feedfoward system ให้ทีมพัฒนากันเอง
- สร้าง Instant report รายงานที่อ่านแล้วสรุปรวบยอด สามารถทำ next action ได้ภายใน 5 นาที
7. หยุดตัดสินใจเองทุกเรื่อง
ถ้าเราจะหยุดตัดสินใจ เราจะต้องมีการแบ่งหน้าที่ให้ชัดเจนว่าใครทำหน้าที่อะไร ไม่ใช่รับพนักงานมา 1 คนแต่ ภาระหน้าที่ครอบจักรวาล แบบนี้ใช้ไม่เพราะว่าเราไม่มีการจ้างคนแบบเฉพาะเจาะจง
หลาย ๆ คนเขียนรับสมัครพนักงานคนหนึ่ง แต่ภาระงานเยอะแยะมากมาย เงินเดือนอยู่ที่ 15,000 บาท พอถามเหตุผลก็บอกว่างบประมาณไม่มี ซึ่งผมก็อยากจะบอกว่าที่ไม่มีงบ เพราะเราไม่ได้คำนวณค่าใช้จ่ายในส่วนนี้ลงไปในราคาของการขายสินค้าด้วย หรือไม่อยากใส่ลงไปเพราะจะทำให้สินค้ามีราคาแพง ถ้าสินค้าแพงลูกค้าจะไม่ซื้อสินค้า เพราะเราไม่ได้มีจุดขายอะไรเลยในสินค้าของเรา พอดีจริง ๆ แล้วมันก็จะเป็นปัญหางูกินหางที่ต่อเนื่องกันไปหมดทั้งระบบในการทำธุรกิจ
ดังนั้น เราจะต้องแก้ปัญหาในเชิงระบบของธุรกิจเราให้ได้เสียก่อน และมีงบประมาณที่เพียงพอในการพัฒนาด้านบุคลากร ถ้าหากเราไม่สามารถพัฒนาบุคลากรได้ สุดท้ายเราก็จะต้องทำงานด้วยตัวเองจนวันตาย
เมื่อเราแก้ปัญหาในเชิงระบบธุรกิจได้แล้ว เราก็จะต้องมีการ แบ่งหน้าที่ แบ่งอำนาจการตัดสินใจ และแบ่งความรับผิดชอบให้ชัดเจน รวมถึงไม่ให้เกิดความสับสนในสายบังคับบัญชา
8. หยุดให้รางวัลตัวเอง แต่ให้รางวัลทีม
- คนสำเร็จระดับที่ 1 อวดว่าตัวเองมีอะไร
- คนสำเร็จระดับที่ 2 อวดว่าครอบครัวมีอะไร
- คนสำเร็จระดับที่ 3 อวดว่าทีมงานมีอะไร
สิ่งเหล่านี้คือความสำเร็จของคนในแต่ละระดับ ซึ่งคนที่ประสบความสำเร็จในการทำธุรกิจระดับสูง ตัวบ่งชี้ความสำเร็จคือรางวัลที่เราให้กับทีมงาน ไม่ใช่รางวัลที่เราให้กับตัวเอง บริษัทดี ๆ จะรับผิดชอบชีวิตของพนักงาน
9. หยุดปิดบังสถานะการเงินของบริษัท
หลาย ๆ คนไม่อยากให้พนักงานรู้ว่าบริษัทมีต้นทุนเท่าไหร่ กำไรเท่าไหร่ เพราะถ้ารู้แล้วกลัวว่าพนักงานจะออกไปเปิดบริษัทมาแข่งกับเรา ซึ่งเรื่องนี้มันก็อาจจะเป็นไปได้ แต่ถ้าเราดูแลพนักงานของเราให้ดี โอกาสที่เขาจะไปจากเรามันก็น้อยมาก จากประสบการณ์คนที่มาทำงานกับผม 60-80 คน มีออกไปเปิดบริษัทเองแค่ 2 คน และที่ทำจนประสบความสำเร็จก็มีแค่ 1 คน ดังนั้น มันน้อยมาก ๆ
ดังนั้น อย่าไปกลัวเรื่องอะไรแบบนี้ เพราะแม้แต่บริษัทที่มีผลกำไรพันล้าน หมื่นล้าน เขาก็ยังเปิดเผยงบการเงินทั้งหมดให้ทุกคนได้รู้ ไม่ใช่เรื่องที่จะมาปิดบังอะไร ยิ่งเขาเปิดเผย ยิ่งรุ่งเรือง ถ้ามียอดขายก็ให้บอก ต้นทุนก็ให้บอก กำไรก็ให้บอก และให้แบ่งความรับผิดชอบพนักงาน ถ้าใครทำดีก็ให้แบ่งรางวัลไป สุดท้ายแล้วธุรกิจของเราก็จะโตได้โดยที่ไม่มีเรา
และทั้งหมดนี้ก็คือ ให้หยุด 9 สิ่งนี้แล้วธุรกิจจะดีขึ้น เราอาจจะเริ่มต้นทำแค่ไม่กี่ข้อดูก่อน แล้วค่อยเพิ่มข้ออื่น ๆ เข้าไป รวมถึงถ้าหากใครต้องการที่จะเรียนรู้วิธีการในการที่จะเอาตัวเองออกจากธุรกิจ ให้ธุรกิจโตอย่างต่อเนื่อง โดยที่เราไม่ต้องทำงานไปทั้งชีวิต ก็สามารถทักทายกันเข้ามาได้