14 วิธีคิด & ลงมือทำ ของผู้นำธุรกิจ

[xyz-ips snippet="Podcast"]
พอล ณัฐศิษฏ วาจาสิทธิศิลป์

สำหรับการเริ่มต้นธุรกิจของเราแต่ละคนนั้นอาจจะไม่เหมือนกัน บางคนอาจจะเริ่มต้นจากความรัก จากความสุข จากความสนุก จากความใฝ่ฝัน หรือความรู้สึกพิเศษบางอย่าง แต่ถ้าหากเรามาดูกันที่เรื่องของ “ภาวะผู้นำ” แล้ว เรื่องนี้แทบจะไม่ได้อยู่ในหัวของเราเลยก็ว่าได้

แต่จากประสบการณ์ที่ผ่านมาของผม ผมก็ได้พบความลับอยู่อย่างหนึ่ง นั้นก็คือ ในการทำธุรกิจ ภาวะผู้นำเป็นสิ่งที่มีความจำเป็น แล้วถ้าหากใครยังไม่มีคุณสมบัติของความเป็นผู้นำ ก็จะต้องพัฒนามันขึ้นมา เนื่องจากการทำธุรกิจในระยะแรก ๆ เราอาจจะไม่จำเป็นจะต้องใช้ภาวะผู้นำมากนัก เพราะจะไปหนักในเรื่องของการหารายได้ ขายสินค้า หาลูกค้า แล้วก็ทำการตลาด แต่ทว่า หลังจากที่ธุรกิจของเราเติบโตไปเรื่อย ๆ เราจะต้องมีการสร้างทีมงานเข้ามาช่วยแบ่งเบาภาระงานต่าง ๆ ที่เพิ่มมากขึ้น

ดังนั้น ในวันนี้เราจะมาดูกันว่า ภาวะผู้นำที่จำเป็นสำหรับการทำธุรกิจมีอะไรบ้าง ถ้าสิ่งในที่เรายังขา เราก็จะต้องเพาะบ่มฝึกฝนให้ตัวเองมีคุณสมบัติเหล่านี้ เพื่อเราจะได้สามารถนำธุรกิจ และพาทีมงานไปสู่ความเจริญรุ่งเรืองได้

เครดิตภาพ: www.pexels.com/th-th/photo/4427431/

14 คุณสมบัติของผู้นำธุรกิจ

1. พูดจาภาษาคน (Simplifying message)

การพูดถือเป็นพื้นฐานในการติดต่อสื่อสารที่สำคัญที่สุด หลักการง่าย ๆ ก็คือ เราจะสื่อสารกับทีมงานอย่างไรให้ทุกคนเข้าใจ รู้เรื่อง และทำในสิ่งที่เป็นเป้าหมายของเราได้อย่างถูกต้อง ในบางครั้งองค์กรอาจจะประกอบไปด้วยบุคคลหลายระดับ วิธีคิดของคนแต่ละระดับ และการรับรู้ของชุดภาษาก็จะไม่เหมือนกัน เช่น การพูดด้วยชุดภาษาในระดับผู้บริหาร อาจจะไม่สามารถสื่อสารกับพนักงานในระดับปฏิบัติการได้

ดังนั้น คุณสมบัติสำคัญของผู้นำธุรกิจ เราจะต้องรู้ว่า เราพูดกับใครอยู่ แล้วควรเลือกใช้ชุดภาษาแบบใด ให้สามารถสื่อสารกับผู้ฟังได้อย่างเข้าอกเข้าใจ พูดเรื่องยากให้เข้าใจง่ายได้อย่างไร สิ่งเหล่านี้สำคัญมาก

2. พูดแล้วทำ (Walk the talk)

การที่คำพูดของเราจะศักดิ์สิทธิ์ สิ่งที่สำคัญก็คือ เมื่อพูดแล้วเราจะต้องทำให้ได้อย่างทีพูด ถ้าหากผู้นำพูดแล้วทำไม่ได้ สุดท้ายก็จะไม่มีใครมันใจในคำพูดของเขา ดังนั้น ถ้าจะเป็นผู้นำธุรกิจ จะต้องพูดคำไหนเป็นคำนั้น ซึ่งเรื่องนี้ผมได้รับการปลูกฝังจากเจ้านายมาตั้งแต่สมัยที่ผมเริ่มทำงานใหม่ ๆ ยังเป็นเด็ก ๆ อ่อนประสบการณ์

ตอนนั้น ผมอยู่ในธุรกิจประเภทเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ซึ่งแน่นอนว่าเวลาเราไปเจอลูกค้า สุดท้ายก็มักจะจบลงด้วยเรื่องเหล้ายาปลาปิ้ง โดยเจ้านายผมจะบอกเสมอว่า เวลาไปเจรจาทางธุรกิจกับลูกค้า ให้เราคุยให้จบก่อน แล้วคอยกินเหล้า และถ้าเริ่มกินเหล้าแล้ว ต้องห้ามพูดเรื่องธุรกิจเด็ดขาด เพราะว่าถ้าหากเราเผลอรับปากอะไรไปตอนเมา แล้วตอนหลังทำไม่ได้ เราจะเสียคนเลยทีเดียว

นี้คือ ความสำคัญของการพูดแล้วต้องทำให้ได้ อะไรที่เราทำไม่ได้อย่าพูด อย่ารับปาก ไม่เช่นนั้น เราจะหมดความน่าเชื่อถือ และขาดความเป็นผู้นำเลย เพราะถ้าพูดไปแล้วไม่มีคนเชื่อ เราก็นำใครไม่ได้

เครดิตภาพ: www.pexels.com/th-th/photo/684387/

3. ตัดสินใจเด็ดขาด (Decisive)

การตัดสินใจของผู้นำถือว่ามีความสำคัญมาก เราจะต้องมีความเด็ดขาด เพราะถ้าหากเราตัดสินใจด้วยความลังเล ก็จะไม่มีใครมาตามเรา อันนี้อธิบายได้ด้วยหลักการทางจิตวิทยาเลย เพราะสมองของมนุษย์เราถูกออกแบบมาให้มีการคิดแบบแบ่งเป็นประเภท ๆ เช่น อาหารชนิดนี้กินได้ กับอาหารชนิดนี้กินไม่ได้ หรืออาหารชนิดนี้กินได้ แต่ไม่อร่อย กับอาหารชนิดกินได้ แถมอร่อยด้วย ซึ่งวิธีคิดแบบนี้เป็นธรรมชาติของสมองมนุษย์ เพื่อให้เราสามารถประมวลข้อมูลต่าง ๆ ได้อย่างรวดเร็ว และไม่สูญเสียพลังงานมากนัก และเราจะต้องการสิ่งที่มีความชัดเจน ไม่คลุมเครือ เพราะสมองไม่อยากจะที่จะประมวลข้อมูลมากเกินไป

ดังนั้น ผู้นำที่มีการตัดสินใจอย่างเด็ดขาด แม่นยำ มักจะได้รับความไว้วางใจในหมู่ผู้ตาม และได้รับความเชื่อมั่น ตลอดจนปฏิบัติตามคำสั่งอย่างไม่ลังเลสงสัย

4. รับฟังและเข้าใจผู้ตาม (Good listener)

นอกจากทักษะการพูดจะมีความสำคัญแล้ว ทักษะที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งของผู้นำ ก็คือทักษะการฟัง ซึ่งเรามักจะได้ยินบ่อย ๆ เกี่ยวกับ Deep Listening หรือการฟังเชิงลึก ซึ่งเป็นลักษณะของการฟังอย่างลึกซึ่ง ให้เข้าอกเข้าใจคู่สนทนาของเรา บางครั้ง เราอาจจะมีภาพของผู้นำที่มีความเด็ดเดี่ยว เฉียบขาด แต่ในขณะเดียวกันภาพลึก ๆ ที่ซ้อนอยู่ของสุดยอดผู้นำ ก็คือจะต้องรับฟังผู้ตามด้วย

5. สร้างแรงบันดาลใจ (Inspiring people to make a change)

ผู้นำถือเป็นศูนย์รวมจิตใจของทีมงานเลยก็ว่าได้ เพราะถือเป็นบุคคลที่มีอิทธิพลต่อทีมงานทุกคน ซึ่งนอกจากผู้นำจะให้เป้าหมายในการทำงาน จะให้แผนการทำงาน จะมอบหมายภาระหน้าที่ให้ทีมงานต่าง ๆ แล้ว สิ่งหนึ่งที่ผู้นำจะต้องทำให้เกิดขึ้นด้วย ก็คือสร้างแรงบันดาลใจ

มีคำกล่าวหนึ่งบอกเอาไว้ว่า ถ้าเราอยากจะให้ทุกคนมาช่วยกันสร้างเรือ สิ่งที่เราจะต้องทำ ไม่ใช่การออกคำสั่ง แต่เราจะต้องบอกเล่าให้ทุกคนได้รับรู้ถึงความวิเศษ มหัศจรรย์ ของดินแดนที่เรากำลังจะพาทุกคนล่องเรือมุ่งหน้าไป

ดังนั้น นี่ก็คือการสร้างแรงบันดาลใจ ซึ่งมันมีพลังกว่าการออกคำสั่งเยอะมาก

เครดิตภาพ: www.pexels.com/th-th/photo/3184360/

6. เปลี่ยนคนให้เป็นคนที่ดีขึ้นได้ (Make people better)

นอกจากผู้นำองค์กรจะต้องดูแลธุรกิจ ดูแลบริษัท ดูแลลูกค้าแล้ว สิ่งหนึ่งที่ขาดไม่ได้ ผู้นำจะต้องดูแลลูกน้องด้วย ผมโชคดีมาก ๆ ที่ตลอดชีวิตการทำงาน ผมได้เจอกับเจ้านายดี ๆ หลายคนมาก ซึ่งสิ่งนี้คือปัจจัยที่ทำให้ผมเปลี่ยนแปลงตัวเอง เป็นคนที่ดีกว่าเดิมยิ่งขึ้นเรื่อย ๆ

เช่น ผมมีประสบการณ์อยู่ครั้งหนึ่งในการทำงานช่วงแรก ๆ คือ ผมโดนลูกค้าหลอก และทำให้บริษัทขาดทุนหลายแสน ถ้าเทียบกับตอนนี้ก็หลายล้านเลยทีเดียว แต่พอผมรายงานไปที่เจ้านาย สิ่งที่ผมได้รับ ไม่ใช้การเพ่งโทษ การดุด่า ไม่ใช่การไล่ออก แต่สิ่งที่ผมได้รับคือการเรียนรู้ที่สำคัญที่สุดครั้งหนึ่งในชีวิตก็ว่าได้ เพราะเจ้านายผมได้บอกผมว่า “คุณรู้แล้วใช้ไหมว่า เวลาลูกค้าเขาจะโกงเรา เขาจะทำยังไง คุณรู้แล้วใช้ไหมว่าอะไรคือความผิดพลาดของคุณ ฉะนั้น ถ้าคุณรู้แล้ว…อย่าทำผิดอีกเป็นอันขาด”

และตั้งแต่วันนั้นเป็นต้นมา ผมไม่เคยผิดพลาดเรื่องนี้ซ้ำสองอีกเลย ซึ่งจ้าวนายคนนี้ถือเป็นคนที่สร้างความเปลี่ยนแปลงให้เกิดขึ้นในชีวิตผม เพราะทำให้ผมเป็นคนละเอียดรอบคอบมากขึ้น นี้คือลักษณะของผู้นำที่ดูแลลูกน้อง และสร้างความเปลี่ยนแปลงให้ลูกน้องเป็นคนที่ดีกว่าเดิม

7. กล้าเผชิญในสิ่งที่ตนเองกลัว (Confront fear and problems)

ความกลัวคือสิ่งที่ปิดกั้นศักยภาพของมนุษย์ก็ว่าได้ ดังนั้น ผู้นำจะต้องกล้าเผชิญความกลัว เพื่อที่จะสามารถแสดงศักยภาพของตนเองออกมาให้ได้อย่างไม่ติดขัด หลายคนอาจจะกลัวการพูดต่อหน้าคนอื่น กลัวการขายของให้ลูกค้า กลัวการออกไปเจรจาทางธุรกิจ แต่สิ่งเหล่านี้จะต้องถูกขจัดออกไป ยิ่งเรากลัวอะไรเราจะต้องไปทำสิ่งนั้น เพราะสุดท้ายเราจะเอาชนะความกลัวได้ พร้อม ๆ กับศักยภาพที่อยู่ในตัวเราจะมีเพิ่มมากยิ่งขึ้น

เครดิตภาพ: www.pexels.com/th-th/photo/6412248/

8. เอาชนะใจตนเอง ในสิ่งที่ไม่อยากทำ

ในเวลาที่เราขึ้นมาเป็นผู้นำ เราอาจจะเลือกได้ว่าสิ่งนี้อยากทำ สิ่งนี้ไม่อยากทำ ซึ่งตรงนี้เราจะต้องมีสติมาก ๆ เพราะบ้างครั้ง สิ่งที่เราไม่อยากทำ ถ้าหากมีความจำเป็น เราก็จะต้องเอาชนะใจตัวเองให้ได้ เช่น วันนี้ขี้เกียจไปหาลูกค้า ขี้เกียจประชุมสรุปงานกับทีม ยังไม่อยากทำเลย แต่เราจะต้องบอกตัวเองว่า…ต้องทำ! และอย่าหาข้ออ้างมาให้กับตัวเองเป็นอันขาด

อะไรที่เราไม่อยากจำ จะต้องทำเลยในทันที เพราะตามหลักจิตวิทยาแล้ว การทำเราทำโดยทันที จะทำให้สมองในส่วนที่เป็นการคิดหาเหตุผล ข้ออ้างต่าง ๆ นา ๆ ทำงานไม่ทัน เราจึงสามารถก้าวข้ามความไม่อยากทำไปได้

9. เป็นผู้ให้ ละความหวงกั้น (Givers)

อันนี้ก็ถือเป็นคุณสมบัติอย่างหนึ่งของผู้นำที่จะขาดไปไม่ได้เลย เนื่องจากผู้นำจะมีแต่พระเดชอย่างเดียวไม่ได้ จะต้องมีพระคุณด้วย การนำพาผู้คนไม่ใช่แค่การสั่งงาน การตรวจงาน การจ่ายค่าตอบแทน แต่ผู้นำจะต้องมีความเมตตา กรุณา มีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ บางครั้งก็จะต้องเป็นผู้เสียสละ ไม่ใช่ให้ลูกน้องเป็นคนเสียสละ

เราจะเห็นได้ว่าเจ้านายหลาย ๆ คนที่ลูกน้องรักมาก ๆ ส่วนใหญ่เขาจะมีภาวะตรงนี้สูงมาก คือการให้ การเสียสละ การเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ให้กับลูกน้อง และถ้าลูกน้องรัก ลูกน้องให้ความเคารพนับถือ จะทำงานอะไรรวมกันมันก็ง่าย

10. ปกครองโดยความเป็นธรรม (Justice)

ผู้นำจะต้องมีความเป็นธรรม ปกครองด้วยความยุติธรรม เท่าเทียม ซึ่งในที่นี้ผมมี 2 คน ที่อยากจะให้เราพิจารณา นั้นก็คือ “ความยุติธรรม” กับ “ความเท่าเทียม” เพราะคำ 2 คนนี้ แม้จะฟังดูคล้าย ๆ กัน แต่มันไม่เหมือนกัน

ความเท่าเทียม ในการปกครองของผู้นำก็คือ การกระจ่ายโอกาสให้ทุก ๆ สามารถเข้าถึงโอกาสดี ๆ อย่างทั่วถึง เหมือนกับการที่เราให้ทุกคนมีโอกาสได้รับสวัสดิการต่าง ๆ ในบริษัท อย่างเสมอภาคกัน

แต่ทีนี้ ความยุติธรรม จะหมายความว่า ถ้าลูกน้องทำอะไร เขาก็ควรที่จะได้รับผลของการกระทำนั้น ๆ อย่างยุติธรรม เช่น ถ้าหากใครขยัน ทำงานดี มีความดีความชอบ เขาก็จะต้องได้รับผลตอบแทนที่ดีกว่าคนอื่น หรือถ้าหากใครทำสิ่งที่ไม่ดี คนนั้นก็ต้องได้รับผลจากการกระทำของตัวเอง อันนี้จึงจะเรียกว่าเป็นความยุติธรรมที่ถูกต้องในการปกครองลูกน้อง

เครดิตภาพ: www.pexels.com/th-th/photo/6077665/

11. ทำให้เกิดผลลัพธ์ (Deliver results)

สุดยอดผู้นำจะไม่ยึดติดกับวิธีการ แต่จะมุ่งตรงที่ผลลัพธ์ เหมือนกับคำกล่าวที่ว่า “เป้าหมายสลักไว้บนแผ่นหิน แต่ยุทธวิธีวาดไว้บนผืนทราบ” คือเป้าหมายต้องไปเปลี่ยน แต่วิธีการสามารถปรับเปลี่ยนพลิกแพลงได้ตามสถานการณ์ เราจะเห็นได้ว่าในวรรณกรรมเรื่อง 3 ก๊ก คนที่เป็นผู้นำจะใช้กลยุทธ์มากมาย เพื่อให้บรรลุเป้าหมาย ยิ่งใครสามารถมีกลยุทธ์ที่พลิกแพลงไปตามสถานการณ์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ไปตีเมืองไหนก็ชนะ ทักษะตรงนี้ก็จะยิ่งทำให้ได้รับการติดตามมากขึ้นเรื่อย ๆ

12. ควรถ่อมตน (Humble)

ความถ่อมตน เป็นคุณธรรมของนักปราชญ์ คนฉลาดมักไม่อวดรู้ สิ่งนี้เรามักจะพบเห็นได้บ่อย ๆ จากผู้นำธุรกิจที่ประสบความสำเร็จในระดับโลก หรือระดับประเทศหลาย ๆ คน มักจะมีบุคลิกถ่อมตน เช่น เจ้าสัวธนินท์ ซึ่งถือว่าเป็นนักธุรกิจที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดคนหนึ่งในประเทศไทยก็ว่าได้ แต่เวลาที่มีใครก็ตามทำผลงานได้ และมีนวัตกรรมเกี่ยวกับการทำงานใหม่ ๆ ท่านจะพูดเลยว่า “เรื่องนี้เป็นเรื่องที่ผมไม่เคยรู้มาก่อน คุณจะต้องเป็นอาจารย์ให้ผมในเรื่องนี้ ผมอยากให้คุณสั่งสอนผมด้วย” นี้คือคำพูดของคนที่เป็นผู้นำธุรกิจระดับประเทศ ซึ่งถ้าว่าไปแล้วมีลูกน้องอยู่ทั่วประเทศเป็นแสน ๆ คน แต่คุณธรรมเรื่องความถ่อมตัวนั้น ท่านแสดงออกมาได้ชัดเจนมาก ทั้ง ๆ ที่ตัวท่านเองก็เป็นคนที่มีความรู้ความสามารถไม่ได้เป็นสองรองใคร

13. น่าเชื่อถือ (Trustworthy)

ถ้าผู้นำขาดความน่าเชื่อถือ ก็จะนำใครได้ เรื่องนี้ถือว่าจริงมาก เพราะถ้าพูดหรือทำอะไรไปแล้ว ลูกน้องไม่เชื่อถือ สุดท้ายก็จบ การดำเนินงานไม่มีทางประสบความสำเร็จได้แน่ ๆ ดังนั้น ความน่าเชื่อถือนี้ จะต้องบ่มเพาะขึ้นมาในตัวเรา เป็นเหมือนบารมีที่จะต้องสะสมไปเรื่อย ๆ พูดจริง ทำจริง คิดอะไรแล้วถูกต้องแม่นยำ คาดการณ์ไม่ผิดพลาด มีความยุติธรรม ไม่ลำเอียง สิ่งเหล่านี้ คือสิ่งที่จะทำให้ได้รับความน่าเชื่อถือทั้งสิน ซึ่งบารมีเหล่านี้จะต้องสะสมไปเรื่อย ๆ ไม่ใช่ทำให้เกิดขึ้นได้เพียงชั่วข้ามคืน ที่จะให้ใคร ๆ เชื่อถือในตัวเรา

เครดิตภาพ: www.pexels.com/th-th/photo/3184291/

14. เชื่อมั่นในผู้อื่น (Trust team)

สิ่งที่ผู้นำส่วนใหญ่มีอยู่ในตัวเองอย่างเต็มเปี่ยม นั้นก็คือการเชื่อมั่นในตัวเอง ความมั่นใจในตัวเอง มั่นใจในความสามารถและประสบการณ์ต่าง ๆ ที่ตัวเองมี แต่ถ้าหากเราอยากจะเป็นผู้นำที่เหนือไปกว่านั้น เป็นผู้นำที่สามารถนำพาองค์กรใหญ่ ๆ ให้เติบโต และประสบความสำเร็จไปได้ สิ่งที่เราจะต้องมีก็คือ…เราจะต้องเชื่อมันในผู้อื่นด้วย

เพราะสุดท้ายแล้ว การทำงานในองค์กรขนาดใหญ่ เราไม่สามารถทำงานทุกอย่างได้ด้วยตัวเองคนเดียว เราจะต้องใช้ทีมงาน ใช้คนเก่ง ๆ คนฉลาด ๆ มาช่วยขับเคลื่อนงานของเรา ถ้าเราไม่เชื่อมั่นในทีมงาน ไม่ให้เขาได้มีโอกาสแสดงความสามารถ องค์กรหรือธุรกิจและความเป็นผู้นำของเราจะไม่มีวันเติบโตได้เลย

และทั้งหมดนี้ก็คือ 14 วิธีคิด & ลงมือทำ ของผู้นำธุรกิจ โดยถือเป็นคุณสมบัติ ซึ่งคนทำธุรกิจจะต้องมี เพื่อถือเป็นพื้นฐานสำคัญ ที่เราจะต้องเอามาใช้ในการบริหารทีมงาน วันนี้ลองสำรวจตัวเองดูว่า เรามีครบทั้ง 14 ข้อหรือยัง ถ้าข้อไหนที่เรายังไม่มี ก็ต้องเพาะบ่มให้เกิดขึ้นมาในเนื้อในตัวของเรา เพื่อที่เราจะได้เป็นผู้นำธุรกิจที่มีคุณภาพ มีความสามารถ และเป็นที่รัก ที่นับถือของทีมงาน

บทความที่น่าสนใจอื่นๆ

เก่งแต่ไม่ก้าวหน้า ปีหน้าจะทำอย่างไร

ไร้สาระสิ้นดี!!! ทำงานก็มีผลลัพธ์
แล้วทำไมต้องประจบเจ้านาย บ้าไปแล้ว
ทำไมไม่ให้ผลงานเป็นตัวตัดสินหละ
เคยสังเกตไหมว่าทำไมคนที่เก่งคน
เก่งการนำเสนอ และเจ้านายรัก
ถึงมีโอกาสก้าวหน้ามากกว่าคนอื่น?

อ่านต่อ »

เจ้านายไม่รัก จะก้าวหน้าได้อย่างไร?

ทำงานดีทั้งปี เจ้านายไม่เห็นผลงาน
เจ้านายไม่รู้ เจ้านายไม่เห็นความสำคัญ
เพราะไม่ตรงกับเป้าหมาย ทำให้ตายก็
ไม่ไปไหนซักที
เจ้านายไม่รัก จะก้าวหน้าได้อย่างไร?

อ่านต่อ »

รับสิทธิพิเศษมั๊ย?

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

บันทึกการตั้งค่า

ลงทะเบียนตอนนี้ รับ E-Books ฟรี!!