พอล ณัฐศิษฏ วาจาสิทธิศิลป์
สำหรับวันนี้ผมจะนำเอาข้อคิดทางธุรกิจจากหนังที่มีชื่อว่า Joy มาแบ่งปันกัน ซึ่งภาพยนตร์เรื่องนี้นำแสดงโดย Jennifer Lawrence และออกฉายครั้งแรกเมื่อปี 2015 โดยถือเป็นหนังที่ให้แง่คิดในการทำธุรกิจกับเราได้เป็นอย่างดี
เป็นเรื่องราวของ Joy คุณแม่ลูกสอง ที่ชีวิตตกระกำลำบาก มีหนี้ท่วมหัว จนทำให้เธอรู้สึกว่าจะต้องเปลี่ยนแปลงอะไรบางอย่างแล้ว จนกระทั่งเธอก็ได้ไอเดียจากการที่มีแก้วตกแตก และเธอต้องทำความสะอาด เมื่อเธอเอามือบิดไปที่ไม้ถูพื้น ก็ทำให้เศษแก้วบาดมือของเธอ เหตุการณ์นี้กระตุ้นให้เธอเกิดความคิดที่จะประดิษฐ์ไม้ถูพื้นที่ใช้งานได้ง่าย โดยที่เราไม่ต้องเอามือไปจับกับที่ถูพื้นอันสกปรก
เมื่อเธอนำเอาไอเดียนี้ไปนำเสนอกับธนาคาร ธนาคารก็อนุมัติจนทำให้เธอสามารถผลิตสินค้าต้นแบบขึ้นมาได้ หลังจากนั้น เธอก็เอาสินค้านี้ไปขายในรายการ TV และประสบความสำเร็จอย่างรวดเร็ว แต่แล้วเธอก็ประสบกับปัญหาทางธุรกิจ เพราะถูกโกง ซึ่งผมจะไม่ขอเล่าเรื่องราวจากหนังเรื่องนี้ทั้งหมด ใครที่สนใจก็ไปหามารับชมเพิ่มเติมได้
แต่ผมจะมาแบ่งปันว่า หนังเรื่องนี้ ให้บทเรียนในการทำธุรกิจอะไรกับเราได้บ้าง
1. One step at a time
หลาย ๆ คนที่เวลาเริ่มต้นทำธุรกิจ ก็มักจะฝันถึงความสำเร็จอันรวดเร็ว บางคนต้องการจะใช้เงินคนอื่นเพื่อมาลงทุนทำธุรกิจ และคิดว่าทุกอย่างมันจะเป็นเรื่องง่าย แต่สำหรับหนังเรื่องนี้ก็เตือนเราว่า การทำธุรกิจนั้นไม่ง่ายอย่างที่คิด แม้ว่าเราจะประสบความสำเร็จในบางเรื่อง แต่ก็ยังมีบางเรื่องให้เราต้องแก้ปัญหา
ดังเช่นกับ Joy ที่เขาประดิษฐ์ Miracle Mop หรือไม้ถูพื้นมหัศจรรย์ และเอาไปขายในรายการ TV ในระยะเวลาเพียง 20 นาที ก็มียอดสั่งซื้อเข้ามาเกือบ 5 หมื่นชิน และเปลี่ยนให้เธอกลายเป็นเศรษฐีเงินล้านเพียงชั่วขามคืน แต่ถึงกระนั้นมันก็ยังคงมีปัญหาอีกหลายอย่างที่เธอจะต้องแก้ปัญหา
คุณสมบัติสำคัญของคนที่ทำธุรกิจก็คือความตั้งใจ ความอดทน ขยั่นหมั่นเพียร และมีความคิดสร้างสรรค์ ค่อย ๆ ก้าวไปทีละขั้น
2. Genuine with the pitch
ครั้งแรกที่มีการนำเสนอไม้ถูพื้นมหัศจรรย์นั้น รายการ TV ที่เธอไปออก ได้ใช้พิธีกรชายในการนำเสนอขาย เพราะสภาพสังคมในช่วงเวลานั้น ผู้ชายจะได้รับการยอมรับมากกว่า ส่วนผู้หญิงจะมีหน้าที่ทำงานบ้าน ดูแลครอบครัว
ซึ่งแน่นอนว่าผู้ชายย่อมไม่สามารถเข้าถึงความรู้สึกของการใช้ไม้ถูพื้น ไม่เข้าใจปัญหาที่เหล่าแม่บ้านต้องเจอ จนทำให้การนำเสนอครั้งแรกนั้นไม่ประสบความสำเร็จ และขายสินค้าไม่ได้เลย แต่ Joy ก็ยังคงไม่ยอมแพ้ โดยเธอได้ไปขอร้องผู้บริหารสถานีว่าเธอขอโอกาสอีกครั้ง โดยเธอจะเป็นคนนำเสนอเอง และผู้บริหารสถานีก็ตกลงตามนั้น และแล้วการนำเสนอขายครั้งที่ 2 ที่ Joy เป็นคนนำเสนอเองก็ประสบความสำเร็จ เพราะเธอเป็นคนที่เข้าใจสินค้าของเธอ และเข้าใจปัญหาของเหล่าแม่บ้านดีที่สุด
ดังนั้น ถ้าเราจะทำธุรกิจ เวลาที่เราไปนำเสนอไม่ว่าจะเป็นกับนักลงทุน หรือกับลูกค้า เราจะต้องนำเสนอด้วยความเข้าใจ ความมั่นใจ และเข้าถึงอารมณ์และความรู้สึก
3. Get advisory team
หนังเรื่องนี้บอกเราว่า เราควรที่จะมีทีมที่ปรึกษาแบบมืออาชีพ อย่าเอาคนที่เรารัก เราชอบ มาเป็นที่ปรึกษา ถ้าเขาไม่ได้มีความรู้ในเรื่องนั้น ๆ อย่างแท้จริง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการเงิน เรื่องบัญชี เรื่องกฎหมาย รวมถึงเรื่องการตลาด
อย่างในประเทศไทยเอง การจ้างคนที่มีความรู้เรื่องบัญชีมาเป็นที่ปรึกษาทางธุรกิจ จะทำให้เราประหยัดค่าใช้จ่ายในหลาย ๆ เรื่องได้ โดยเฉพาะค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับภาษี ซึ่งถ้าหากเป็นคนที่มีความรู้ความชำนาญและเข้าใจเกี่ยวกับกฎหมายการจ่ายภาษี ก็จะสามารถจ่ายภาษีได้อย่างถูกต้องตามหลักการ และไม่จ่ายแพงจนเกินไป
4. Frienemy: เพื่อนคู่แข่ง
ในหนังเรื่องนี้ จอย ได้พบกับ นีลวอล์คเกอร์ ซึ่งเป็นผู้บริหารสถานีโทรทัศน์ ซึ่งนีลคาดการณ์ว่าไม่ถูพื้นมหัศจรรย์ของจอยจะต้องประสบความสำเร็จอย่างแน่นอน และทั้งคู่ก็ได้เป็นเพื่อนกันในที่สุด โดยนีลได้บอกกับจอยว่าในอนาคตถ้าหากเราจะต้องแข่งขันกันในการทำธุรกิจ เราจะไม่ลืมความเป็นเพื่อน และในท้ายที่สุดทั้งคู่ก็ต้องมาเป็นคู่แข่งทางธุรกิจกัน แต่ก็ไม่ลืมความเป็นเพื่อนระหว่างกัน
ดังนั้น บางครั้งการทำธุรกิจ เราควรจะมีเพื่อนที่เป็นคู่แข่งไว้บ้าง เพราะจะทำให้เรามีการพัฒนาตัวเอง และทำธุรกิจอย่างได้เก่งขึ้น มีมุมมองใหม่ ๆ ในการทำธุรกิจมากยิ่งขึ้น
5. Don’t listen to investor
อย่ารับคำสั่งจากนักลงทุนทั้งหมด ถ้านักลงทุนสนใจเรื่องเงิน เมื่อคนเป็นเจ้าของธุรกิจ สิ่งที่คุณจะต้องสนใจคือลูกค้า เพราะถ้าไม่มีลูกค้าก็ไม่มีเงิน
ผมเข้าใจดีว่าการที่เราเอาเงินมาจากนักลงทุนแล้ว เราก็จะต้องมีภาระรับผิดชอบ ที่จะต้องคืนเงินนักลงทุน แต่เราจะเอาเงินจากไหนมาคืนนักลงทุน ถ้าลูกค้าไม่รักเรา ดังนั้น ในเวลาที่เราตัดสินใจ ไม่ว่าจะทำอะไรก็แล้วแต่ ถ้าเป็นผลกระทบกับลูกค้าของเรา เราควรที่จะต้องตัดสินใจด้วยตัวเองเอง
ถ้าหากนักลงทุนคนนั้นไม่เข้าใจเรื่องธุรกิจ คิดถึงแต่ผลกำไรของตัวเอง คุณก็ไม่ควรที่จะให้เขาเป็นนักลงทุนของคุณตั้งแต่แรก
6. Build something from insightful problem
เวลาที่เราทำธุรกิจ เราควรจะเริ่มต้นจากปัญหาที่แท้จริง อย่างเช่นในหนังเรื่องนี้ ตอนที่ Joy ก็เป็นคนประสบกับปัญหาเรื่องการถูพื้นด้วยตัวเอง เพราะถูกเศษแก้วบาดมือ จากการที่ใช้มือบิดผ้าไม้ถูพื้น ซึ่งเธอไม่ได้เจอเหตุการณ์นี้เฉพาะบนเรือเท่านั้น แต่เธอเจอเห็นการนี้เป็นประจำ จนทำให้เธอเกิดแนวคิดที่จะสร้างไม้ถูพื้นที่ไม่ต้องใช้มืดบิดผ้าจากไม้ถูพื้นโดยตรง ไม่ต้องใช้มือสัมผัสสิ่งสกปรก และสามารถซักด้วยเครื่องซักผ้าทำความสะอาดให้เหมือนใหม่ได้ ด้วยเหตุนี้จึงทำให้สินค้าของเธอขายดีได้ในชั่วข้ามคืน ดังนั้น เวลาที่เราจะสร้างธุรกิจเราต้องสร้างธุรกิจจากปัญหาที่แท้จริงได้
7. Advisor มีทั้งฉลาด และไม่ฉลาด
หา Advisor ที่มี Passion ที่ไปกับคุณได้ และไม่ใช่ทุกคนจะสามารถเป็น Advisor ของเราได้ รวมถึงเราเองไม่จำเป็นจะต้องใช้ Advisor ที่ฉลาดที่สุดในโลก แต่เราจะต้องรู้ว่าเวลาที่เราจะทำธุรกิจในแต่ละขั้นตอน เราจะต้องใช้ Advisor ที่เหมาะสมประมาณไหน
อย่างเช่น ถ้าเราพึ่งเริ่มต้นธุรกิจ เราก็ไม่จำเป็นต้องใช้ Advisor ที่สามารถพาเราเข้าตลาดหลักทรัพย์เพราะมันยังไม่ถึงขึ้นตอนนั้น เราอาจจะใช้ Advisor ที่เก่งกว่าเราสักประมาณ 3-4 สเต็ปล่วงหน้าก็เพียงพอแล้ว เช่น ถ้าเราต้องการที่จะทำยอดขายสัก 10 ล้านบาท เราก็ควรจะไปหา Advisor ที่เคยดูแลยอดขายสัก 100 ล้านบาทก็เพียงพอแล้ว เพราะถ้าเราใช้ Advisor ระดับเทพ เราก็จะต้องแบกรับค่าใช้จ่าย รวมถึงยังเป็นการใช้ทรัพยากรแบบไม่คุ้มค่าด้วย
8. Opportunity is there even when you are in the darkest moment
ถ้าเรามีสายตาที่แหลมคม เราจะพบว่าในปัญหาที่เลวร้ายที่สุดก็จะมีโอกาสแฝงมาด้วยเสมอ อย่างในหนังเรื่องนี้ตอนที่ Joy ถูกนักธุรกิจที่ร่วมงานกันหักหลัง และเกิดความเสียหายในการทำธุรกิจ รวมถึงเป็นหนี้ด้วย โดยถือเป็นช่วยเวลาที่เลวร้ายสำหรับ Joy แต่ในช่วงเวลาที่มืดบอดคล้ายจะมองไม่เห็นทาง เมื่อเธอกลับมาอ่านสัญญาอย่างละเอียดอีกครั้ง ก็ทำให้เธอสามารถหลุดพ้นปัญหานี้ไปได้
ดังนั้น ในช่วงเวลาที่มืดมิดที่สุด ก็ขอให้เราตั้งสติและมองหาแสงสว่างเล็ก ๆ ที่มันสามารถจะทำให้เราออกจากมุมมืด หรืออกจากปัญหานั้นได้
และทั้งหมดนี้ก็คือ 8 บทเรียนในการขายไม้ถูพื้น (Joy) ซึ่งถือเป็นภาพยนตร์อีกเรื่องหนึ่งที่ให้แง่คิดในการทำธุรกิจของเราได้เป็นอย่างดี และถ้าใครที่ยังไม่เคยได้ดูก็ควรจะไปหามาดูกัน หรือถ้าใครเคยดูแล้ว ถ้ากลับไปดูอีกครั้งก็จะทำให้เราเห็นแง่มุมในการทำธุรกิจได้อย่างละเอียด ลึกซึ้งยิ่งขึ้นด้วย