สรุปบทสัมภาษณ์ของ “คุณโธมัส-พิชเยนทร์ หงษ์ภักดี” จากอาชีพเสริม สู่ยอดขายร้อยล้าน ทำอย่างไร?
คุณโธมัส-พิชเยนทร์ หงษ์ภักดี เริ่มทำธุรกิจของตัวเองตั้งแต่เรียนจบ ในวัยเพียง 23 ปี ปัจจุบันเป็นประธานเจ้าหน้าที่บริหาร Smart ID Group ผู้พัฒนา ผลิต จัดจำหน่าย อุปกรณ์ Consumer Electronic แบรนด์ Anitech และเป็นเจ้าของผลิตภัณฑ์กลุ่มอิเล็กทรอนิกส์ ไลฟ์สไตล์กว่า 1,000 รายการ
บริษัทเติบโตปีละ 20-30% ยอดขายทะลุเป้าที่ตั้งไว้ทุกปี ขณะนี้ ธุรกิจมียอดขายหลายร้อยล้าน และคว้ารางวัลด้านการทำธุรกิจมานับไม่ถ้วน
แต่กว่าจะได้มาซึ่งความสำเร็จนี้ มาเรียนรู้กันว่าคุณโธมัสมีวิธีคิดอย่างไร…
คุณโธมัสเริ่มต้นธุรกิจสตาร์ทอัพเกี่ยวกับ Coding ship ในเกมส์ play station ที่ปารีสเป็นเวลา 2-3 ปี ช่วงนั้นเขาถูกเพื่อนต่างชาติเหยียดสัญชาติเอเชียอยู่ แรงบันดาลใจในการทำธุรกิจ เพียงฝันอยากได้เงินมาทาน MK ได้มากกว่า 1 มื้อ คุณโธมัสมองเห็นโอกาสว่าทีมของเขาเป็นทีมเดียวในโลกที่ทำธุรกิจนี้ได้ แต่การนั่งทำกันเองจะไม่ยั่งยืน จึงขอก็เอานี้กลับมาทำเป็นผู้รับจ้างผลิตสินค้า (OEM) ต่อที่ประเทศไทย
เมื่อคุณโธมัสกลับไทยมาตีราคาสินค้า พบว่าต้นทุนสินค้าถูกกว่าที่ปารีสมาก จากชิ้นละ 1,000 บาท เหลือเพียง 60 บาท เขาเลยตัดสินใจเริ่มต้นทำเป็น E-Commerce อย่างเต็มรูปแบบกับธนาคารเอเชีย นับเป็นธุรกิจที่ 2 ของประเทศ ที่สามารถจ่ายผ่านบัตร Credit จากทั่วโลกได้
เขาสามารถสร้างยอดขายโตจากแรกเริ่ม 3-4 แสนบาท เป็น 10 ล้านบาทต่อเดือน เพื่อนต่างชาติเริ่มให้การยอมรับ จากที่เรียกว่าไอ้เอเชีย เป็นเรียกคุณโธมัสแทน
ด้วยความฝันของคุณโธมัสคือการเป็นผู้บริหารในองค์กรขนาดใหญ่ แม้ธุรกิจของเขาจะสร้างยอดขายมหาศาล แต่เขากลับมาสมัครงาน โดยทำธุรกิจ E-Commerce เป็นอาชีพเสริม
“สังคมต้องการคนทุกประเภท ผมไม่ได้คิดว่าการเป็นผู้ประกอบการคือความสำเร็จสูงสุด”
ข้อดีของคุณโธมัสคือเคยทำทั้งธุรกิจส่วนตัวและทำงานองค์กร ทำให้เขาเข้าใจและปรับสมดุลระหว่างการเป็นเจ้าของธุรกิจและพนักงานประจำได้อย่างดี
ช่วงอายุ 29 ปี ธุรกิจของคุณโธมัสถือเป็นบริษัทไทยรายเดียวที่ global brand ยอมรับ มียอดขาย 100 ล้าน หลังจากนั้น คุณโธมัสจึงลาออกมาผันมาเป็นเจ้าของธุรกิจอย่างเต็มตัว
“ถ้าคุณทำงานอยู่บริษัท ให้เก็บเกี่ยวให้มากที่สุด เพราะเมื่อคุณออกมาทำธุรกิจของตัวเอง สิ่งที่ผมเอามาใช้มากที่สุด คือความรู้จากการเป็นพนักงานในบริษัท” คุณโธมัสกล่าว
คิดอย่าง Start Up อย่างไรให้สำเร็จ?
ล้มเหลวให้เร็ว “Fail Fast, Fail Chep” แต่ไม่ได้หมายความว่าจะคุณจะล้มเท่าไหร่ก็ได้ คุณจะต้องจำกัดด้วยว่าจะใช้ต้นทุนและระยะเวลาในการล้มเท่าไหร่
ทำอย่างไร ให้เป็นยิ่งกว่า SME ทั่วไป?
ถ้าคิดอย่าง Start Up ทำอย่าง Start Up คุณอาจจะเผาเงินเร็วเพราะได้เงินจาก Angel Investor
คุณต้องทำงานอย่างทรหดเหมือน SME “ฉันจะไม่มีวันยอมแพ้ถ้าฉันยังหายใจอยู่”
ใช้ใจเป็นประธานในการทำธุรกิจ พร้อมด้วยกลยุทธ์ที่ถูกต้อง
SME จะมีระบบอย่างมหาชนอย่างไร?
จุดหลุมพรางที่ใหญ่ที่สุดของ SME คือการมีระบบที่ไม่ดีพอ การไม่มีระบบ จะทำให้ได้ข้อมูลที่ไม่ถูกต้อง ทำให้ตัดสินใจผิด
คำว่า “ระบบ” หมายถึงงานสามารถเดินต่อไปได้แม้ไม่มีคุณ คุณต้องมีระบบที่ถูกต้องทุกวัน เพื่อทำให้คุณตัดสินใจได้โดยไม่พลาด
ถ้าคุณอยากให้ธุรกิจอยู่ได้ 100 ปีขึ้นไป คุณต้องมีคนเก่งอยู่ในองค์กร แต่การดึงดูดคนเก่งให้มาอยู่ในองค์กรได้ คุณต้องมีระบบที่ดี
ฝากบทเรียนให้นักธุรกิจ
สำหรับใครที่เพิ่งเริ่มต้นธุรกิจ คุณต้อง คิดอย่าง Start Up คือมองที่ “ปัญหา” ก่อน อย่ามองว่าเราทำสินค้าอะไรได้ ให้มองความต้องการที่ยังไม่ได้รับการแก้ไขมาก่อน (Unmet Need)
จากนั้น ให้คุณลงมือทำอย่าง SME เพราะภาพความเป็นจริงมันไม่ได้สวยงาม คุณต้องทำงานอย่างทรหด
สุดท้าย การที่คุณจะได้ชีวิตคืนมา มีเวลาไปทำสิ่งอื่นที่รัก คือคุณต้องมีระบบอย่างมหาชน
ติดตามบทสัมภาษณ์คุณโธมัสแบบเจาะลึก…
========================
📚เรียนรู้เพิ่มเติม
บทเรียน 4 เทคนิค เพิ่มยอดขาย 2 เท่า! :
บทความการตลาด :
.
📍SOCIAL MEDIA
Facebook:
Youtube:
LINE :
Website:
.
💁♀️สนใจหลักสูตร / สอบถาม
หลักสูตรทั้งหมด: https://pay4tomorrow.com
Inbox:
Tel: 097-113-1976
#WinningOverCrisis