วิเคราะห์ตัวตนด้วย Wealth Dynamics ช่วยธุรกิจ “ชนะ” ทุกสนามรบ
ปัญหา?ที่ผู้ประกอบการต้องปวดหัว หนีไม่พ้น ได้คนเก่งมาทำงาน แต่อยู่ไม่นานก็ออก ยิ่งทำไปยิ่งฝืน ไม่สร้างมูลค่าอะไรให้องค์กร ถ้าในมุมเถ้าแก่ก็เล่นบทผิดมาทั้งชีวิต เช่น ชอบควบคุม ไม่ชอบการเปลี่ยนแปลง แต่อยากจะไปสวมบทนักสร้างสรรค์ พัฒนานวัตกรรมคูลๆ ทว่าเล่นผิดเกม?สรุปลงเอยที่ ?ความขัดแย้ง?
นี่คือตัวอย่างสถานการณ์ช้ำๆ ที่ล้วนเกิดจากปัญหาเรื่อง ?คน? ทั้งที่เป็น เจ้าของกิจการ ลูกน้อง ลูกค้า หรือแม้แต่ทายาทที่ต้องมาสานต่อธุรกิจ โจทย์ตัวเดียวกันที่เกี่ยวข้องกับเอสเอ็มอี ตั้งแต่ วันเริ่มก่อตั้ง ออกเดินทางสร้างการเติบโต จนถึงวันที่ต้องส่งมอบกิจการต่อให้ทายาท
ปัญหาสุดคลาสสิก นำมาสู่เครื่องมือที่ชื่อ ?Wealth Dynamics? ศาสตร์วิเคราะห์ตัวตนของบุคคล ซึ่งคิดค้นโดย ?โรเจอร์ส เจมส์ แฮมมิลตัน? นักชี้กระแสธุรกิจเพื่อสังคมระดับโลก และผู้ก่อตั้ง Entrepreneurs Institute คนต้นติด หลักสูตร Wealth Dynamics และ Talent Dynamics ที่มีผู้ประกอบการทั่วโลกนำไปใช้แล้วกว่า 280,000 คน
?Wealth Dynamics คือ เส้นทางพัฒนาความมั่งคั่งของผู้ประกอบการ?
ที่ช่วยให้เอสเอ็มอีได้เข้าใจบทบาทที่ถูกต้องของตัวเอง รู้ศักยภาพของคน เพื่อดึงความสามารถที่เป็นธรรมชาติของแต่ละคนมาพัฒนาได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม ลดความขัดแย้งในวิธีคิดและการทำงาน สามารถส่งมอบกิจการจากรุ่นสู่รุ่นได้ เพื่อนำพาองค์กรสู่ความสำเร็จและยั่งยืน
?ทักษะ พัฒนาได้ แต่ความเป็นตัวคุณ ความชอบของคุณ มันเปลี่ยนแปลงยาก?
แล้วทำอย่างไรถึงจะได้รู้จัก ?ตัวตน? ของใครสักคน
วิธีการที่เริ่มจากการทำแบบทดสอบ 25 ข้อ ผลจากคำตอบจะแปรค่าออกมาเป็นกราฟ เพื่ออธิบายตัวตนของใครคนนั้น ซึ่งแบ่งได้เป็น 8 คาแรคเตอร์?ยกตัวอย่าง เช่น
?Creator? ?คือ นักประดิษฐ์
มีจินตนาการ มีความคิดสร้างสรรค์ เป็นนักคิด คิดเร็ว คิดแต่ของใหม่ๆ และมีจินตนาการสูง เขายกตัวอย่าง สตีฟ จอบส์ , บิล เกตส์ และ ริชาร์ด แบรนสัน ก็อยู่ในกลุ่มนี้ กลุ่มต่อมาเรียก ?Star? นักประชาสัมพันธ์ ที่สร้างความสัมพันธ์ได้รวดเร็ว คนกลุ่มนี้จะชอบสื่อสารกับคนหมู่มาก มีทัศนคติเป็นบวก จับเทรนด์อะไรได้เร็ว เหมาะกับอาชีพพวก ผู้ประกาศข่าว นักแสดง แบรนด์เมเนเจอร์ หรือนักสื่อสาร เป็นต้น
??Supporter? คือผู้นำ นักบริหาร
ชอบสร้างความสัมพันธ์ สร้างความเชื่อมั่น และสนุกกับทีม คนกลุ่มนี้จะเป็นผู้นำโดยธรรมชาติ พูดอะไรน่าเชื่อถือ มักได้ความเคารพจากคนรอบข้าง ต่อกันที่ ?Deal Maker? นักเจรจา ผู้ชอบฟังความเห็นคนอื่น รักการเจรจารอง ถนัดสื่อสารแบบหนึ่งต่อหนึ่ง เขายกตัวอย่าง ?โดนัลด์ ทรัมป์? เจ้าพ่ออสังหาริมทรัพย์ฝีปากกล้า หรืออย่าง ?เอ ศุภชัย? ผู้จัดการดาราชื่อดัง ก็เข้าข่าย ที่ใช้การเจรจาต่อรองสร้างความมั่งคั่ง
?Trader? ?คือ พ่อค้า
กลุ่มนี้มีความชัดเจนว่าอะไรคือ ?สมเหตุสมผล? ตรงประเด็น ชอบเก็บข้อมูล และช่างเปรียบเทียบ ต่อรองเป็น แต่ไม่ชอบเจอคนมากๆ อาชีพที่เหมาะก็อย่าง ฝ่ายจัดซื้อ นักขายประเภทเจอลูกค้าจำนวนเล็กๆ แต่ขายได้จำนวนรายมากๆ ถ้าวิธีในการทำธุรกิจ คนกลุ่มนี้จะเลือกทำร้านค้าปลีกที่มีจำนวนสาขาเยอะๆ ทว่าถ้าเป็นประเภท Deal Maker จะไม่มีหน้าร้านเยอะ แต่ใช้วิธีส่งให้คนอื่นไปจัดจำหน่ายต่อแทน เป็นต้น
?Accumulator? ?คือ นักสะสม
ช่างจัดการ ตรงต่อเวลา เชื่อถือได้ เป็นกลุ่มที่กลัวความเสี่ยง ให้ความสำคัญกับข้อมูล คนประเภทนี้ มีความอดทนสูง ชอบลงทุนระยะยาว เหมาะกับพวกทำวิจัยการตลาด ฝ่ายวิจัยและพัฒนา เวลาทำอะไรจะเริ่มช้า แต่ถ้าเริ่มแล้วสำเร็จแน่นอน ตัวอย่าง วอร์เร็น บัฟเฟตต์ มหาเศรษฐีและนักลงทุนชื่อก้องโลก
?Lord? หรือ?ผู้ถือสิทธิ
กลุ่มนี้สามารถบริหารจัดการได้ดี ช่างวิเคราะห์ ชอบการควบคุม ไม่ชอบการเปลี่ยนแปลง ชอบทำอะไรที่อยู่ในโพรเซส ไม่แหกกฎ ตำแหน่งในองค์กร ก็ประเภท นักบัญชี ปิดท้ายกับ ?Mechanic? กลุ่มนายช่าง เก่งเรื่องจัดการงานให้สำเร็จ ชอบความสมบูรณ์แบบ ชอบสร้างระบบ และอยู่เฉยไม่ได้ เขายกตัวอย่าง มาร์ค ซัคเคอร์เบิร์ก ที่สะท้อนได้ชัดถึงความเป็น Mechanic
รู้จักคนแต่ละกลุ่มแล้วนำมาใช้อย่างไร
เมื่อเกิดความขัดแย้งในองค์กรทั้งในมุมกว้างและมุมลึก มุมกว้าง คือ รู้ว่าใคร เหมาะกับงานอะไร ทำสิ่งใดได้ดี ส่วนในมุมลึก คือ สามรถนำมาจัดวางผังองค์กรใหม่ รวมถึงการทำโปรโมชั่นให้เหมาะสม ยกตัวอย่างจากเคสจริงที่เกิดขึ้นของธุรกิจที่ได้นำ Wealth Dynamics มาใช้
ธุรกิจนี้เป็นของพี่น้องที่อยู่กันคนละขั้ว คนพี่เป็น Lord ชอบควบคุม ไม่ชอบการเปลี่ยนแปลง ส่วนคนน้องเอียงมาทาง Creator และ Star ชอบความแปลกใหม่ ตื่นเต้น สนุกสนาน เป็นครอบครัวธุรกิจค้าวัสดุก่อสร้าง ณ ปัจจุบันธุรกิจที่อยู่ในช่วงขาลง จึงต้องเน้นช่องทางการจัดจำหน่ายที่เพิ่มขึ้น เน้นการบริการที่ดีขึ้น แต่มีมาร์จิ้นน้อย ผู้นำจึงไม่เข้าใจกัน ธุรกิจก็ไปต่อไม่ได้ นั่นคือที่มาของการเข้ามาใช้บริการศาสตร์วิเคราะห์ตัวตน จนได้เข้าใจกัน เลยนำมาสู่การวางผังองค์กรใหม่ โดยการที่คนพี่เริ่มปล่อยมือ มาดูภาพใหญ่ แล้วปล่อยธุรกิจเป็นยุคของน้อง ผลคือ จากเดิมที่เคยทำโปรโมชั่นให้กับลูกค้าใช้เวลา 3-4 อาทิตย์ แต่เดี๋ยวนี้แค่ 1-2 วัน งานก็จบแล้ว ปลดล็อกอุปสรรคธุรกิจได้ แถมในอีก 2 ปี ข้างหน้า ก็วางแผนนำบริษัทเข้าตลาดหลักทรัพย์อีกด้วย
การรู้จักตัวตนไม่ใช่แค่ทำให้เราใช้คนให้เป็น แต่สิ่งสำคัญคือ การรู้จักตัวเอง
เพื่อเล่นเกมให้ถูก ?ความสำเร็จมาจากการรู้ว่าเกมไหนที่เหมาะกับเรา และเล่นเกมนั้นอย่างเต็มที่ ธุรกิจถึงจะเติบโตไปได้?
…………………………………..
Key to success
วิเคราะห์ตัวตน สร้างความมั่งคั่ง
๐ รู้บทบาทตัวเอง เล่นเกมให้ถูก
๐ รู้ศักยภาพคน พัฒนาได้ถูกต้อง เหมาะสม
๐ ลดความขัดแย้งในวิธีคิดและการทำงาน
๐ ลดปัญหาในการส่งมอบกิจการ
๐ ทักษะพัฒนาได้ แต่ความเป็นตัวตนเปลี่ยนยาก
บทความนี้ดัดแปลงมาจากหนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ ฉบับวันที่?17 กันยายน 2558