คุณชอบการลงทุน แต่ไม่นิยมความเสี่ยง มีความอดทนใจเย็นในการรอจังหวะเข้าซื้อสินทรัพย์ในราคาที่คุ้มค่าและขายออกไปในราคาที่ทำกำไรมากมาย แสดงว่าคุณจัดอยู่ในกลุ่มคนประเภทเดียวกับ Warren Buffett, ลีกาชิง และ ดร นิเวศน์ เหมวชิรวรากร แต่…
คุณก็สังเกตตัวเองอีกเช่นกันว่าคุณไม่ถนัดในการเริ่มต้นธุรกิจในกระแสที่คนทำแล้วรวยได้รวยดี รวยเร็วจนน่าอิจฉา ไม่ต้องน้อยใจ ไม่ต้องกังวล เพราะความรวยมันต้องวัดการยาว ๆ คุณมีแนวโน้มว่าอาจจะเป็นเจ้าของโปรไฟล์ในระบบ Wealth Dynamics ที่เรียกว่า โปรไฟล์ Accumulator (นักสะสม)
Overview: ภาพรวมของโปรไฟล์ Accumulator (นักสะสม)
Accumulator (นักสะสม) เป็นโปรไฟล์กลุ่มที่ทำสามารถประสบความสำเร็จด้วยความเสี่ยงต่ำเป็นอันดับต้น ๆ เนื่องจากความมั่งคั่งของพวกเขาเกิดจากมูลค่าเพิ่มของสินทรัพย์ที่พวกเขา ?สะสม? อย่างใจเย็น โปรไฟล์ Accumulator (นักสะสม) ที่ประสบผลความสำเร็จอย่างสูง มีบุคคลิกที่คล้ายกันคือ มีความอดทน และมีระเบียบวินัยสูง
Role Models & Roles: แบบอย่างและบทบาท
ผู้มีโปรไฟล์ Accumulator (นักสะสม) แบ่งออกเป็น 2 ประเภทที่สังเกตุได้ชัด ได้แก่ ประเภทแรกเป็น นักสะสม ที่ซื้อ Asset (สินทรัพย์) หรือ Commodities (วัตถุ) มาเก็บไว้โดยไม่ได้มีการวางแผนระยะยาว อาจซื้อเพราะสนใจหรือความชอบ หรือเพื่อการเก็งกำไร และเมื่อเวลาผ่านไป มูลค่าของ สินทรัพย์ หรือ วัตถุ เหล่านั้นก็เพิ่มขึ้นพอที่จะทำกำไร
นักสะสมประเภทที่สอง เกิดจากความตั้งใจและการคิดวิเคราะห์ล่วงหน้าเผื่อไปยังอนาคตอันไกล มองหาสินทรัพย์ที่ประเมินแล้วว่ามีราคาแน่ ๆ ในอนาคตเพื่อเข้าซื้อและถือเก็บไว้เป็นเวลานานจนมูลค่าสูงขึ้นอย่างมหาศาล นักสะสมที่ประสบความสำเร็จระดับโลก ได้แก่ Warren Buffet (Berkshire Hathaway), Benjamin Graham (Graham Newman Corporation และเป็น อาจารย์ของ Warren Buffet อีกที), Li Ka Shing (Cheung Kong Holding), Carlos Slim Helu (Telmex), หรือคนไทยที่เป็นที่ยอมรับด้านการซื้อและถือสินทรัพย์ยาว ๆ ได้แก่ ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร นักลงทุนหุ้นแบบระยะยาวที่ประสบความสำเร็จอย่างสูง
Talent & Strengths: ความถนัดและจุดเด่น
ผู้มีโปรไฟล์ Accumulator (นักสะสม) เป็นผู้มีระเบียบวินัย ละเอียดรอบคอบ ชัดเจน ตรงต่อกำหนดและเวลา ทำงานคนเดียวได้ดีและมีสมาธิสูง เป็นคุณสมบัติที่ทำให้พวกเขาสามารถพิจารณาและไตร่ตรองจนสามารถเลือก สินทรัพย์ หรือ วัตถุ ที่มีศักยภาพในการเพิ่มมูลค่าในระยะยาวมาในราคาที่คุ้มค่า
Weakness: ข้อควรระวัง
พวกเขาไม่อาจทนกับสภาวะที่มี Dynamics สูง ๆ หรือสภาวะที่รีบเร่งและสับสนวุ่นวาย มีความตัดสินใจช้า และมักติดอยู่กับรายละเอียดเล็ก ๆ น้อย ๆ ทำให้งานไม่จบเสียที ความละเอียดและต้องการข้อมูลจำนวนมากในการตัดสินกระทำการต่าง ๆ ทำให้ไม่เหมาะในการเป็นแนวหน้าในการริเริ่มธุรกิจใหม่ ๆ หรือธุรกิจแบบ Startup
Wealth Strategy: กลยุทธ์ในการสร้างความสำเร็จ
1. Foundation (สร้างพื้นฐานให้เอื้อต่อความสำเร็จ)
ผู้มีโปรไฟล์ Accumulator (นักสะสม) ในช่วงเริ่มต้นที่ทุนของคุณยังน้อย คุณอาจไม่สามารถลงทุนกับสินทรัพย์หนัก ๆ เช่น อสังหาริมทรัพย์ และทีดินได้ คุณอาจเริ่มจากการลงทุนใน Commodities หรือหากจะเร่งความเร็วในการสร้างความมั่งคั่ง คุณอาจหาพาร์ทเนอร์ Extrovert เช่น ผู้มีโปรไฟล์ Star ที่ถนัดด้านการตลาดและสร้างคอนเนคชั่นมาเป็นคู่หูสักคนสองคน (เพราะธรรมชาติของนักสะสมเป็น Introvert) มาช่วยเชื่อมโยงคุณเข้ากับผู้มีทุนและลงทุนแบบ OPM หรือ Other People Money เช่นเดียวกับ Warren Buffett ในช่วงแรกก็ใช้วิธี OPM เช่นกัน
2. Moment (ช่วงเวลาที่คุณสร้างคุณค่าได้ดีที่สุด)
คุณอาจเริ่มต้นอาชีพการลงทุนที่หลากหลายตลาด และเมื่อถึงจุดหนึ่งจงโฟกัสที่ตลาดและเครื่องมือลงทุนหลักและพัฒนาให้เก่งในด้านนั้นไปเลย
3. Value Creation (วิธีสร้างคุณค่าที่ดีที่สุด)
คุณค่าของคุณอยู่ที่ความเชี่ยวชาญในการลงทุนที่อยู่ในตัวของคุณเอง การที่คุณศึกษา และพัฒนาตัวเองจนกลายเป็นสุดยอดนักลงทุนและกูรูในตลาดการลงทุนนั้น ๆ คือวิธีสร้างคุณค่าที่ดีที่สุดของผู้มีโปรไฟล์ Accumulator (นักสะสม)
4. Value Ownership (การครอบครอบคุณค่าเพื่อสร้างรายได้ระยะยาว)
ความเป็นเจ้าของที่คุณควรจะเป็นนั้นไม่จำเป็นเกิดจากการเป็น ?เจ้าของสินทรัพย์? แต่เพียงผู้เดียวเสมอไป แต่โฟกัสไปที่ ?สิทธิ์ในการใช้สินทรัพย์? อันหมายความว่าสินทรัพย์หรือกองทุนที่คุณสร้างหรือถือครองอาจมีเจ้าของร่วมเป็นธนาคารและผู้ซื้อหน่วยลงทุน แต่คุณจะต้องเป็นผู้มีอำนาจสั่งการว่าจะถือหรือจะขายสินทรัพย์นั้นไม่ว่าเวลาใด
5. Leverage?(วิธีผ่อนแรง ทำน้อย ได้มาก)
เครื่องผ่อนแรงของคุณเกิดจากการมี ?บุคคลากร, ระบบ, และโปรแกรม? ที่คุณพัฒนาขึ้นจากองค์ความรู้อย่างแท้จริงในตนเองและเชื่อถือพอที่จะเกิดการทำซ้ำได้ สร้างขึ้นมาเพื่อใช้ในการวิเคราะห์ คำนวณ และเลือกที่จะซื้อหรือขายสินทรัพย์แทนคุณได้
6. Secure Cash Flow (การสร้างกระแสเงินสด)
คุณสามารถมีกระแสเงินสดหมุนเวียนอย่างต่อเนื่องจากการขายหุ้นในสินทรัพย์ก็ดี หรือการจากรีไฟแนนซ์สินทรัพย์ก็ดี การทำเช่นนี้คุณจะได้ทั้งเงินจากการขาย และถือครองสินทรัพย์ที่ยังคงทำเงินต่อไปอีกด้วย
ตัวอย่าง ผู้มีโปรไฟล์ นักสะสม (THE ACCUMULATOR)
วอเร็น บัฟเฟตต์ (Warren Buffet)
วอเร็น บัฟเฟตต์ เป็นมหาเศรษฐีที่ร่ำรวยจากการลงทุนในหุ้น ปัจจุบัน (ปี 2017) เขามีอายุ 86 ปี มีสินทรัพย์สุทธิโดยประมาณ 73 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ
ความน่าสนใจของเขาเริ่มต้นเมื่ออายุ 13 ปี นั่นคือช่วงที่เขาเสียภาษีเป็นครั้งแรกโดยมีการนำรถจักรยานมาหักออกเป็นค่าใช้จ่าย เนื่องจากการมีรายได้ส่งหนังสือพิมพ์ วอเร็น บัฟเฟตต์ เก็บเงินจากการส่งหนังสือพิมพ์ได้มากพอที่จะซื้อที่ดินในปีต่อมา และมีการลงทุนเพื่อหารายได้จากสินทรัพย์ต่าง ๆ อย่างต่อเนื่อง อาทิ การลงทุนซื้อโต๊ะพินบอลแบบหยอดเหรียญไปตั้งในร้านอาหารและมีรายได้จากการเก็บค่าเล่น เป็นต้น
เมื่อเข้าสู่วัยรุ่น เขามีความสนใจในหุ้นสาย Value Investment อย่างแรงกล้าและสมัครเข้าเรียนที่โรงเรียนธุรกิจโคลัมเบีย เพื่อจะเรียนกับ อาจารย์หุ้นสายนี้ที่ขึ้นชื่อที่สุดในยุคนั้นนามว่า เบนจามิน เกรแฮม รวมไปถึงการขอเข้าไปรับใช้ทำงานฟรีในบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนของ เบนจามิน เกรแฮม อีกด้วย!
วอเร็น บัฟเฟตต์ สะสมเงินและประสบการณ์มากพอจึงเปิดกองทุนของตนเองขึ้นในปี ค.ศ. 1957 ด้วยวัยเพียง 27 ปีเท่านั้น! เขาตั้งชื่อว่า Buffett Partnership โดยลงเงินของตนเอง 105,100 เหรียญสหรัฐฯ และและระดมเงินของญาติพี่น้อง และเพื่อนฝูงมาก่อตั้งเป็นกองทุน โดยเขาบริหารกองทุนด้วยอัตราการเติบโตที่น่าทึ่ง กล่าวคือ เงิน 100,000 เหรียญสหรัฐฯ ที่ลงในกองทุน Buffett Partnership ในปี ค.ศ. 1957 จะเติบโตเป็น 1,719,000 เหรียญสหรัฐฯ ใน 12 ปีต่อมา
ในปี ค.ศ.1964 บัฟเฟตต์ เข้าซื้อกิจการโรงงานทอผ้าชื่อว่า Berkshire Hathaway โดยให้เหตุผลว่าเพราะราคามันถูกกว่ามูลค่าพื้นฐาน (Intrinsic Value) ซึ่งเป็นแนวทางการลงทุนสายสถิติและตัวเลขทางบัญชีอย่างสุดขีด ภายหลังเขาพบว่าการลงทุนแบบนี้มีจุดอ่อนที่อันตรายคือแม้ตัวทางเลขในงบการเงินจะบอกว่าน่าซื้อ แต่ธุรกิจที่หมดศักยภาพก็หมดอนาคตในทางตลาด เขาจึงเรียนรู้และผสมผสานหลักการลงทุนของตัวเองขึ้นมา ทำการพลิก Berkshire Hathaway จากกิจการโรงงานทอไปเป็นธุรกิจแบบ Holding Company ที่เข้าซื้อกิจการต่าง ๆ ในตลาดหลักทรัพย์
หลักการลงทุนที่ บัฟเฟตต์ พัฒนาเป็นการผสมผสาน Value investment และ Growth stock investment เข้าด้วยกัน และลงทุนในธุรกิจที่คนต้องกินต้องใช้ทุกวัน เช่น มีดโกน อาหาร เครื่องดื่ม เป็นต้น ส่วนแนวทางการลงทุนที่เขาหลีกเลี่ยงคือ Technical และธุรกิจที่เขาอยู่ห่างในเวลานั้นคือธุรกิจ Hi-tech ทุกชนิด
กล่าวกันว่า หากคุณซื้อหุ้น Berkshire Hathaway ในช่วงที่ บัฟเฟตต์ เข้ามาบริหาร เงินลงทุนจำนวน 1,000 เหรียญสหรัฐฯ ในปี 1964 จะมีมูลค่า 7.5 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ในปี 2014 โดยยังนับเงินปันผลที่เริ่มจ่ายตั้งแต่ปี 1967 — ในปี 2017 หุ้น Berkshire Hathaway มีการซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์นิวยอร์กที่ราคาหุ้นละ 254,965 เหรียญสหรัฐฯ !!
วอเร็น บัฟเฟตต์ ในวันนี้มีสินทรัพย์สุทธิโดยประมาณ 73 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ติด Top 5 คนรวยที่สุดในโลกมากว่าทศวรรษ และมีการขยายการลงทุนออกไปในหลายตลาด และมีการลงทุนในหุ้น Hi-tech ต่าง ๆ ตามสมควร นอกจากนั้นเขายังเป็นนักบริจาคตัวยง และเป็นแรงบันดาลใจของนักลงทุนรุ่นใหม่ทั่วโลก
เช็คลิสค์ความเป็นโปรไฟล์?Accumulator
โปรไฟล์ Accumulator (นักสะสม) | |
Dominant Wealth Frequency: | Tempo / Steel |
Action Dynamics: | Introvert |
Thinking Dynamic: | Sensory |
จุดแข็ง: | เป็นระเบียบ ละเอียดรอบคอบ ชัดเจน ตรงต่อกำหนดและเวลา และเป็นผู้สามารถรักษาความสมานฉันท์ของทีมได้ดี |
จุดอ่อน: | ไม่ถนัดกับมือต่อความสับสนวุ่นวาย ตัดสินใจช้า และมักติดอยู่กับรายละเอียดเล็ก ๆ น้อย ๆ ทำให้งานไม่จบเสียที |
กุญแจสู่ความมั่งคั่ง: | ทำงานคนเดียวได้ดีและมีสมาธิสูง เป็นคนละเอียดรอบคอบและอาจดูเชื่องช้าในการเริ่มต้น แต่เมื่อเริ่มทำงานจนเสร็จแล้วมั่นใจได้ในความเป๊ะ |
ปัจจัยสู่ความล้มเหลว: | ความละเอียดและต้องการข้อมูลจำนวนมากในการตัดสินกระทำการต่าง ๆ ทำให้ไม่เหมาะในการเป็นแนวหน้าในการริเริ่มโครงการใหม่ ๆ |
สิ่งที่ถนัดในทีม: | การหาข้อมูลเชิงตัวเลขและสถิติสำคัญ ๆ ในการช่วยตัดสินใจ การบริหารจัดการงานที่มีรายละเอียดปลีกย่อย และการบริหารจัดการเวลาให้เป็นไปตามกำหนด มีความเชี่ยวชาญการเรียนรู้ผ่านข้อมูล ตัวเลข และสถิติที่ซับซ้อน |
สิ่งที่ไม่ถนัดในทีม: | งานที่ใช้ความคิดสร้างสรรค์ การออกแบบ และการพัฒนาสิ่งใหม่ ๆ การ Networking ไม่ถนัดการสื่อสารหรือเรียนรู้ผ่านการสนทนา โต้วาที และการะดมสมอง |
สิ่งที่ถนัดในชีวิต: | การบริหารโครงการ การวิเคราะห์วิจัยตลาด การคำนวณ และงานที่ต้องอาศัยความละเอียดมาก ๆ |
สิ่งที่ไม่ถนัดในชีวิต: | ไม่ถนัดการคิดริเริ่มโครงการหรือนวัตกรรมใหม่ ๆ การออกแบบ การเจรจาต่อรอง การ Networking การเรียนรู้และสนทนาผ่านการสนทนาโต้วาที การระดมสมอง และการเรียนรู้ด้วยภาพ? |
ผู้ที่มีชื่อเสียงในโปรไฟล์นี้: | Benjamin Graham (Graham Newman Corporation) Warren Buffet (Berkshire Hathaway) Li Ka Shing (Cheung Kong Holding) Carlos Slim Helu (Telmex) JP Morgan (JP Morgan & Co) ดร นิเวศน์ เหมวชิรวรากร (นักลงทุนแบบ Value Investment) เจริญ สิริวัฒนภักดี (ThaiBev) |
ถ้าคุณอยากทำธุรกิจให้ไปได้ไกล ไปได้ไว เริ่มต้นที่ขั้นแรก โดยการค้นว่าคุณควรอยู่ จุดไหนในบริษัทของคุณกันแน่
เรียนรู้เกี่ยวกับหลักสูตรที่นี่
http://bit.ly/WD-CEO
ลงทะเบียนได้ที่นี่
หรือ Inbox เพื่อพูดคุยกับทีมงาน
เรียนรู้เกี่ยวกับโปรไฟล์อื่น ๆ