ทำไมคนไม่ชอบการขาย แต่ชอบการซื้อ
พอล ณัฐศิษ
จัดห้องเรียนเอ็กซ์คลูซีฟ
ขนาด 12 คน
ให้บริการที่ปรึกษาธุรกิจ
ด้านกลยุทธ์
เชิญผู้เชี่ยวชาญไปให้ความรู้
พอล ณัฐศิษ
พอล ณัฐศิษ
พอล ณัฐศิษ
บทสัมภาษณ์ คุณตุ่น ปริญญารัตน์ สำราญวงษ์ ผู้ก่อตั้ง Commerzy
นักเรียน Wealth Dynamics รุ่นที่ 34 ปัจจุบันนี้ Commerzy มียอดของลูกค้า
ให้ดูแลมากกว่าปีละ 1 พันล้านบาท คุณตุ่นได้เปิดเผยกับเราว่า หลังจากนำ
Wealth Dynamics ไปใช้ในองค์กรทำให้มั่นใจว่าปีหน้ายอดจะเติบโต
มากกว่าเดิม ?
เคยได้ยินไหมครับว่า ?คู่รัก ไม่ควรทำธุรกิจร่วมกัน เพราะร้อยทั้งร้อย มักจะไปไม่รอด?
คงไม่มีใครปฏิเสธได้ว่า การทำธุรกิจนั้นใช้เวลาในชีวิตประจำวันกว่าครึ่งหนึ่ง
เมื่อทั้งคู่ต้องทำธุรกิจร่วมกัน จะต้องมีปัจจัยเรื่องอื่นๆ เข้ามาเกี่ยวข้องในความสัมพันธ์
ด้วยความที่ทั้งคู่ต่างมีความคิดเห็น มุมมอง และให้คุณค่ากับสิ่งที่ตนเองทำแตกต่างกัน
ทำให้เกิดปัญหาบ่อยครั้ง ถึงแม้ว่าเราอาจจะยอมโดยไม่เต็มใจในบางครั้ง เพื่อให้ธุรกิจไปต่อได้
แต่นานเข้า ความอัดอั้นตันใจที่มีอยู่ก็อาจปะทุขึ้นมาเมื่อไหร่ก็ได้
และเมื่อนั้นปัญหาจะไม่จบอยู่แค่เรื่องงาน แต่จะลามไปถึงเรื่องส่วนตัวและทำให้ความสัมพันธ์สั่นคลอนได้
ธุรกิจเกิดใหม่ อุปสรรคอะไรที่มักทำให้คุณไปไม่ถึงเป้าหมาย
คุณหมอนัท ณัฐชยา วงศ์ตั้งตน เจ้าของแบรนด์สินค้าเพื่อความงาม Minars
เมื่อตอนเริ่มต้นธุรกิจปีแรก ยอดขาย รายได้ เป็นไปตามที่ต้องการ
แต่พอต้องการขยายธุรกิจ ขยายทีมงาน ต้องการจัดการให้เป็นระบบ
กลับทำไม่ได้ดั่งใจ และสงสัยว่าทำยังไงก็ผ่านมันไปไม่ได้ซักทีหนึ่ง
เจ้านายทุกคนชอบลูกน้องที่มีแนวความคิด และพฤติกรรมใกล้เคียงกับตัวของคุณเอง เพราะคุณรู้สึกว่าคุยแล้วรู้เรื่องกว่า เข้าใจกันได้ง่ายมากๆ แทบไม่ต้องอธิบายอะไรเลย และนั่นคือสัญญาณอันตรายในธุรกิจคุณ คนเก่งเหมือนกันมารวมตัวกันคุณจะได้ Outstanding Values หรือคุณค่าที่ชัดเจนโดดเด่นจนคนอื่นแข่งกับคุณไม่ได้
ทำไมต้องเปลี่ยนจาก Manual ไปสู่ Automation
คุณเป็นอีกหนึ่งคนใช่ไหมที่ดูแลการตลาดของธุรกิจด้วยตัวคุณเอง หากคำตอบคือใช่ ผมรู้ว่าคุณกำลังประสบปัญหาเวลา 24 ชม.ต่อ 1 วัน ไม่เพียงพอสำหรับคุณ เพราะตั้งแต่คุณตื่นเช้ามา คุณก็ต้องเตรียมตัวไปประชุมกับทีมในตอนเช้า เตรียมวางแผนการทำการตลาด ทำสื่อโฆษณาต่าง รวมถึงคุณยังต้องมาติดตามลูกค้าที่ทักมาสอบถามข้อมูลบริการของคุณอีกด้วย สุดท้ายคือการประเมิณผล KPI ซึ่งทำให้คุณต้องคอยมานั่งรวบรวมผลลัพธ์เพื่อนำมาใช้ในการประเมิณผล
นี่เป็นบทความที่ 3 ของซีรี่ย์ ข้อคิดจากหนังสือ : The Millionaire Master Plan by Roger James Hamilton (แผน 9 ขั้น ปั้นคุณเป็นเศรษฐี)
ในขั้นตอนนี้ดูเหมือนว่า ก่อนที่จะไปสเต็ปต่อไปของการวางแผนการเป็นเศรษฐีของ Roger James Hamilton ก็คือ เราจะต้องรู้ก่อนว่า เราถนัดอะไร เพราะก่อนหน้านี้ สิ่งที่ยากที่สุดก็คือ ?ไม่รู้ว่าเราต้องรู้อะไร?
ถ้าคุณเก่งพรีเซน ชอบความโดดเด่น
การอยู่ท่ามกลางคนหมู่มากคือความสุขของคุณ
คุณจะสร้างความสำเร็จจากความชอบนี้ได้อย่างไร?
ถ้าคุณคิดว่าตนเองเป็นคนที่มีไอเดียดี ผู้คนส่วนมากก็ชื่นชมว่าหัวคิดของคุณนั้นเจ๋งจริง และคุณก็เป็นคนมองโลกในแง่ดี มีแรงบันดาลใจ มีความสุขส่งต่อแรงบันดาลใจให้ผู้อื่น แสดงว่าคุณจัดอยู่ในกลุ่มคนประเภทเดียวกับ Elon Musk, Steve Jobs และ Richard Branson แต่…
คุณก็สังเกตตัวเองอีกเช่นกันว่าแม้ไอเดียจะดีแค่ไหน หรือสามารถนำออกมาประยุกต์ใช้สร้างสรรค์ผลงานได้จริง แต่คุณไม่สามารถต่อยอดให้ใหญ่กว่าที่ใจอยากเป็น ไม่สามารถทำให้มันเติบโตสร้างรายได้อย่างยั่งยืนด้วยปัญหาหลายประการโดยเฉพาะภาค Operation และการจัดการงานหลังบ้าน ถ้าเป็นเช่นนั้น คุณมีแนวโน้มว่าอาจจะเป็นเจ้าของโปรไฟล์ในระบบ Wealth Dynamics ที่เรียกว่า โปรไฟล์ Creator (นักสร้างสรรค์)
Overview: ภาพรวมของโปรไฟล์ Creator (นักสร้างสรรค์)
ผู้มีโปรไฟล์ Creator (นักสร้างสรรค์) สามารถแบ่งแยกออกได้เป็น 2 กลุ่ม ได้แก่
กลุ่มที่ 1 นักสร้างสรรค์ที่ถนัดสร้างสรรค์ผลงานโดยใช้แนวความคิดและความรู้สึกของตน นักสร้างสรรค์ประเภทนี้มักจะเป็นบุคคลที่มีความคิดสร้างสรรค์ มีศิลปะและสามารถทำงานได้หลาย ๆ อย่างในเวลาเดียวกัน
กลุ่มที่ 2 นักสร้างสรรค์ที่ถนัดสร้างผลงานอันได้รับแรงบันดาลใจหรือกระตุ้นจากสิ่งแวดล้อมภายนอก ซึ่งนักสร้างสรรค์ประเภทนี้มักจะเป็นบุคคลที่ชอบการบุกเบิกและสร้างสรรค์สิ่งใหม่ ๆ เช่น การผลิตสินค้าและธุรกิจใหม่ ๆ รวมทั้งการวางแผนการตลาดที่ไม่เหมือนใคร
อย่างไรก็ดีนักสร้างสรรค์ทั้ง 2 ประเภทนี้จะมีลักษณะที่เหมือนกันคือ เป็นผู้ที่มีจินตนาการสูงและคอยผลักดันผู้อื่นอยู่เสมอ
Role Models & Roles: แบบอย่างและบทบาท
ผู้มีโปรไฟล์ Creator (นักสร้างสรรค์) ในกลุ่มผู้สร้างสรรค์ จากแนวความคิดของตนเอง มักจะประสบความสำเร็จในธุรกิจด้านการออกแบบ สิ่งประดิษฐ์ สื่อโฆษณา และธุรกิจบันเทิงต่าง ๆ รวมทั้งมักจะอยู่เบื้องหลังความสำเร็จของสินค้าใหม่ ๆ เช่น อุปกรณ์อิเลคทรอนิกส์ และเครื่องมือสื่อสารที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูง ตลอดจนการออกแบบสูตรหรือเมนูอาหารเลิศรสต่าง ๆ ก็เช่นกัน
ส่วนนักสร้างสรรค์กลุ่มที่ผลงานของพวกเขาเกิดจากการ ได้รับแรงกระตุ้นจากสิ่งแวดล้อมภายนอก มักจะประสบความสำเร็จในบริษัทที่เพิ่งเริ่มต้นมีการเติบโตสูงและมีการแข่งขันกันในด้านนวัตกรรมระดับหนึ่ง ๆ
ตัวอย่างผู้มีโปรไฟล์ Creator ในกลุ่มผู้สร้างสรรค์จากแนวความคิดของตนเอง ได้แก่ บิล เกตต์, และ สตีฟ จ๊อบส์ ส่วน Creator ที่เกิดจากแรงกระตุ้นภายนอกที่ประสบความสำเร็จ ได้แก่ จอร์จ ลูคัส , สตีเว่น สปิลเบิร์ก เป็นต้น
Talent & Strengths: ความถนัดและจุดเด่น
ผู้มีโปรไฟล์ Creator (นักสร้างสรรค์) มีวิสัยทัศน์ไกลและมีความคิดสร้างสรรค์เป็นเลิศ มองโลกในแง่ดี มีแรงบันดาลใจและสามารถส่งต่อแรงบันดาลใจให้ผู้อื่น มีความเชี่ยวชาญในการคิด ออกแบบ และสร้างสรรค์โครงการใหม่ ๆ รวมไปถึงการวาดแผนการทำงานในภาพใหญ่ และจะทำได้ดีเป็นพิเศษเมื่อมีอิสระในการคิดอย่างเต็มที่โดยไม่มีใครมาตีกรอบ และมีทีมงานที่เชี่ยวชาญเฉพาะทางคอยสนับสนุนและลงรายละเอียดในภาค Operation ให้
Weakness: ข้อควรระวัง
มีปัญหาในการบริหารและควบคุมเวลา ชำนาญการริเริ่มแต่ไม่ถนัดในการสานต่อโครงการใหม่ ๆ ให้จบสมบูรณ์ มีโอกาสมองโลกในแง่ดีเกินไปทั้งต่อตนเองและผู้อื่นจนมีโอกาสการขาดการสื่อสารความคาดหวังและการดำเนินงานกับทีมให้มากพอ และเมื่อใดที่เริ่มลงไปควบคุมภาคปฏิบัติมากเกินไป หรือคิดเร็วทำเร็วมากเกินไป หรือคาดหวังผลจากผู้อื่นสูงเกินไป จะทำให้เกิดความขัดแย้งตึงเครียดสูง
Wealth Strategy: กลยุทธ์ในการสร้างความสำเร็จ
1. Foundation (สร้างพื้นฐานให้เอื้อต่อความสำเร็จ)
ผู้มีโปรไฟล์ Creator (นักสร้างสรรค์) ถนัดการคิดโครงการและการงานใหม่ ๆ และมีไอเดียพลุ่งพล่าน แต่มีโอกาสละเลยความสำคัญของงานหลังบ้านและการลงรายละเอียดด้านตัวเลข บัญชี และการเงินต่าง ๆ — Creator จะประสบความสำเร็จอย่างมั่นคงต้องการผู้สนับสนุนด้าน Operation หรือ ภาคปฏิบัติ และ Finance หรือบัญชีการเงิน มากกว่าการพยายามทำทั้งหมดนี้ด้วยตัวเอง
2. Moment (ช่วงเวลาที่คุณสร้างคุณค่าได้ดีที่สุด)
Creator (นักสร้างสรรค์) จงพาตนเองไปอยู่ในโอกาสที่ตนสามารถใช้เวลาส่วนใหญ่ไปกับการสร้างสินค้าใหม่ ๆหรือกลยุทธ์การทำงานใหม่ ๆ เพราะนั่นคือสิ่งที่คุณทำได้ดีเป็นพิเศษ และจะมีความสุขสุด ๆ กับงานที่ทำ
3. Value Creation (วิธีสร้างคุณค่าที่ดีที่สุด)
คุณมีความสามารถในการล่วงรู้ว่าตลาดต้องการอะไร จงใช้ความรู้และไอเดียของคุณในการออกแบบและสร้างผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าและหารายได้จากผลิตภัณฑ์นั้น ส่วนเรื่องอื่น ๆ เช่น Operation, Finance, and Accounting ให้คนที่ถนัดด้านนั้น ๆ มาดูแล
4. Value Ownership (การครอบครอบคุณค่าเพื่อสร้างรายได้ระยะยาว)
จงรักษาไอเดียอันมีราคาของคุณโดยการจดสิทธบัตร จดลิขสิทธิ์ ฯลฯ ที่ผู้อื่นจะนำไปใช้ฟรี ๆ ไม่ได้นอกจากจะมาขออนุญาตและให้ส่วนแบ่งในการนำไปใช้งานแก่คุณ ไม่เช่นนั้นคุณจะทำรายได้จากไอเดียใหม่ ๆ ได้แค่ช่วงสั้น ๆ เท่านั้น
5. Lerverage (วิธีผ่อนแรง ทำน้อย ได้มาก)
ผู้มีโปรไฟล์ Creator (นักสร้างสรรค์) ถนัดคิด ออกแบบ และสร้างสรรค์ จงผ่อนแรงด้านการตลาดโดยการร่วมมือ (Partnership) กับผู้ถนัดด้านอื่น ๆ อาทิ การกระจายสินค้า (Distribution network) ช่องทางการขายปลีก (Retail channels) การเป็นพันธมิตรร่วมค้า (Affiliate partners) เป็นต้น
6. Secure Cash Flow (การสร้างกระแสเงินสด)
กระแสเงินสดของผู้มีโปรไฟล์ Creator จะไหลมาอย่างต่อเนื่องในรูปแบบของค่าสิทธิบัตร ค่า License และมาจากธุรกิจของบริษัท เช่น การขายหุ้น
ตัวอย่าง Creator ที่มีชื่อเสียง
วอลท์ ดิสนีย์ (Walt Disney)
ผู้ที่เป็นผู้สร้างสรรค์จะสามารถรู้ได้อย่างรวดเร็วว่ามูลค่าที่มากที่สุดของพวกเขาอยู่ในการคิดสร้างสรรค์และโอกาสในการเป็นเจ้าของความคิดสร้างสรรค์เหล่านั้นก็มีมหาศาล วอลท์ ดิสนีย์ มีบทเรียนที่แสนเจ็บปวดเมื่อตอนอายุได้ 22 ปี เมื่อเขาได้เรียนรู้ว่าเขาได้เซ็นสัญญาโอนลิขสิทธิ์ยกการ์ตูนที่ได้รับรางวัลของเขาให้คนอื่น การ์ตูนเรื่องนั้นชื่อว่า ?ออสวอลล์ เดอะ ลัคกี้ แรบบิท? ในการเซ็นสัญญาการกระจายหนังกับ ยูนิเวอร์แซล สตูดิโอ
ในปี ค.ศ. 1930 เมื่อเขาอายุได้ 29 ปี ดิสนีย์เซ็นต์สัญญา 7,000 เหรียญสหรัฐฯ ต่อการกระจายหนังกับโคลัมเบีย พิคเจอร์ส สำหรับตัวการ์ตูนที่เขาสร้างขึ้นมาใหม่หลังจากเสียออสวอลล์ไป ก็คือ มิคกี้เม้าส์ นั่นเอง โดยคราวนั้นเขายินดีแบ่งเงินแต่ขอเก็บลิขสิทธิ์ของตัวการ์ตูนไว้แต่เพียงผู้เดียว ในปี 1984 เขากล่าวว่า
?…สำหรับผมแล้ว มิคกี้เม้าส์เป็นสัญลักษณ์ของความไม่ขึ้นกับใคร เขาเกิดมาจากความจำเป็น เจ้าหนูตัวน้อยนี้ช่วยปลดปล่อยเราจากความกังวลที่มีอยู่…?
เมื่อใดก็ตามที่ผู้สร้างสรรค์มีสิ่งสร้างสรรค์ที่ทำเงินได้ ความมั่งคั่งจะเกิดได้จากการต่อยอดสินค้าตัวนั้น ขณะที่เขามีบทบาทเป็นนักออกแบบการ์ตูน เมื่อมิคกี้เกิดขึ้นมา ดิสนีย์ก็เริ่มที่จะต่อยอดในหลาย ๆ ทาง
ในปี ค.ศ. 1930 เขาพิมพ์ ?เดอะ มิคกี้ เม้าส์ บุ๊ค? และขายได้ถึง 100,000 เล่ม เขาเซ็นต์สัญญากับ คิงฟีเจอร์ส เพื่ออพัฒนาการ์ตูนเล่มมิคกี้เม้าส์ เขาจ้างเอเยนต์ เคย์ คาเมน ซึ่งเป็นผู้ให้สิทธิ์การผลิตกับ เนชั่นแนล แดรี่ โปรดักส์ คอมพานี่ เพื่อทำไอศครีมโคนมิกกี้เม้าส์ ซึ่งขายได้ถึง 10 ล้านโคนภายในเดือนแรก
ในเวลาเพียงหนึ่งปี ดิสนีย์มีมูลค่ามากถึง 300,000 เหรียญสหรัฐฯ ในการเป็นผู้สนับสนุนสินค้าของ มิคกี้ เม้าส์ เพียงอย่างเดียว ซึ่งถือเป็นเงินจำนวนมหาศาลสำหรับปี ค.ศ. 1931 โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับตัวการ์ตูนที่ไม่มีค่าใช้จ่ายอะไรในการสร้างขึ้นมานอกจากจินตนาการของ วอลท์ ดิสนีย์
และตลอดช่วงค.ศ.1930-1940 ดิสนีย์ เริ่มจะสร้างกลุ่มตัวการ์ตูนขึ้นมาโดยทำงานร่วมกับทีมของนักวาดภาพการ์ตูนที่มีพรสวรรค์ ในปี ค.ศ.1937 ทีมนั้นสร้างภาพยนตร์การ์ตูนเรื่องแรกขึ้น ชื่อว่า ?สโนว์ไวท์ กับคนแคระทั้งเจ็ด? โดยใช้งบจากการกู้ถึงหนึ่งล้านดอลลาร์ ภาพยนตร์เรื่องนี้สร้างรายได้ถึง 8.5 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ในช่วงเปิดตัวและถูกนำไปฉายในอีก 46 ประเทศสร้างรายได้สะสมกว่า 100 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
วอลท์ ดิสนีย์ ยังไม่หยุดพัฒนาต่อยอดธุรกิจจากจินตนาการของเขา โดยเริ่มสร้างสตูดิโออย่างจริงจังเพื่อสร้างสรรค์และผลิตการ์ตูนต่าง ๆ ออกมารวมไปถึงการผลักดันบริษัทเข้าตลาดหุ้นเพื่อระดมทุน แต่ถึงแม้ ดิสนีย์ จะดำเนินธุรกิจมาถึง 3 ทศวรรษ แต่บริษัทก็ยังถือว่ามีเงินหมุนเวียนต่ำ จนกระทั่งจากนั้นในปี ค.ศ. 1954 ดิสนีย์ เซ็นต์สัญญากับสถานีเอบีซี เพื่อบุกสื่อโทรทัศน์ เริ่มช่อง Disney TV โดยในฤดูกาลแรกมีคนดู 30 ล้านคน และนี่ก็มีผลทำให้ยอดขายของสินค้าอื่น ๆ ในพอร์ตธุรกิจของดิสนีย์เพิ่มขึ้น และกลายเป็นจุดเปลี่ยนครั้งสำคัญที่ทำให้บริษัทมีกำไรอย่างจริงจัง และตามมาด้วยโครงการสร้างสวนสนุก ดิสนี่ย์แลนด์
จากวันที่ก่อตั้งในปี 1923 ถึงปัจจุบันปี 2017 เป็นเวลา 94 ปีที่ ดิสนีย์ กลายเป็นอาณาจักรธุรกิจบันเทิงที่ครองใจคนไปทั้วโลก โดยมีจุดเริ่มต้นจากจินตนาการที่แทบไม่มีต้นทุนของ วอลท์ ดิสนีย์ แต่สามารถสร้างรายได้ในปี 2016 สูงถึง 55 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ และมีมูลค่าตลาด หรือ Market Capitalization สูงกว่า 1 แสนล้านเหรียญสหรัฐฯ
เช็คลิสต์ความเป็นโปรไฟล์ Creator
โปรไฟล์ Creator (นักสร้างสรรค์) | |
Dominant Wealth Frequency: | Dynamo |
Action Dynamics: | Introvert/ Extrovert |
Thinking Dynamic: | Intuitive |
จุดแข็ง: | มีวิสัยทัศน์; มีความคิดสร้างสรรค์; มองโลกในแง่ดี; มีแรงบันดาลใจและสามารถส่งต่อแรงบันดาลใจให้ผู้อื่น; ทำงานหลายอย่างได้;? เชี่ยวชาญการริเริ่มโครงการใหม่ ๆ; หวังผลและได้ผลลัพธ์เร็ว |
จุดอ่อน: | มีปัญหาในการควบคุมเวลา; สมาธิถูกรบกวนได้ง่ายและมีความอดทนน้อย; มีโอกาสมองโลกในแง่ดีเกินไปทั้งต่อตนเองและผู้อื่น; และไม่ถนัดในการสานต่อโครงการใหม่ ๆ ให้จบสมบูรณ์ |
กุญแจสู่ความมั่งคั่ง: | มีความเชี่ยวชาญในการคิดสร้างสรรค์โครงการใหม่ ๆ และแผนการทำงานในภาพใหญ่ โดยเฉพาะเมื่อมีอิสระในการคิดอย่างเต็มที่ โดยมีทีมงานสนับสนุนและลงรายละเอียดในภาค Operation ให้ |
ปัจจัยสู่ความล้มเหลว: | เมื่อลงไปควบคุมภาคปฏิบัติมากเกินไป หรือคิดเร็วทำเร็วมากเกินไป หรือคาดหวังผลจากผู้อื่นสูงเกินไป — นอกจากนั้น Creator มีโอกาสล้มเหลวจากการขาดการสื่อสารความคาดหวังและการดำเนินงานกับทีมให้มากพอ |
สิ่งที่ถนัดในทีม: | ออกแบบ คิดริเริ่ม และสร้างสรรค์โครงการและนโยบายกาดำเนินงานและแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์; การคิดเป็นภาพใหญ่และเชิงกลยุทธ์; เชี่ยวชาญการเรียนรู้แบบ Visual และสื่อสารเป็นข้อสรุปที่เรียบง่าย |
สิ่งที่ไม่ถนัดในทีม: | การบริหารและการรักษาเวลาทั้งกับตนเองและผู้อื่น; การวิเคราะห์งานที่มีตัวเลขและรายละเอียดซับซ้อน; การตรวจสอบกระบวนการทำงาน; การเรียนรู้ผ่านตัวอักษร และการสื่อสารที่ต้องลงรายละเอียดมาก ๆ |
สิ่งที่ถนัดในชีวิต: | การคิดภาพใหญ่ กลยุทธ์ธุรกิจ การระดมสมอง พัฒนาผลิตภัณฑ์ ออกแบบ กล้าเสี่ยงทำสิ่งใหม่ ๆ การเริ่มต้นกิจการใหม่ ๆ |
สิ่งที่ไม่ถนัดในชีวิต: | การบริการลูกค้า; งานที่ต้องทำซ้ำ ๆ และต้องใช้เวลาและความอดทนสูง; การวิเคราะห์เจาะลึก; การวิจัยตลาด; การตรวจทานงาน; และรักษาเวลา |
ผู้ที่มีชื่อเสียงในโปรไฟล์นี้: | Thomas Edison (General Electric), Walt Disney (Walt Disney Company), Bill Gates (Microsoft), Steve Jobs (Apple/ Pixar), Richard Branson (Virgin), JK Rowling (Harry Potter Books), Steven Spielberg (SGK DreamWorks), Elon Musk (Tesla) วิสูตร แสงอรุณเลิศ (นักเขียน Best Seller) ชัยพนธ์ ชวาลวณิชชัย (Serial Entrepreneur สายการศึกษา) |
ถ้าคุณอยากทำธุรกิจให้ไปได้ไกล ไปได้ไว เริ่มต้นที่ขั้นแรก โดยการค้นว่าคุณควรอยู่ จุดไหนในบริษัทของคุณกันแน่
เรียนรู้เกี่ยวกับหลักสูตรที่นี่
http://bit.ly/WD-CEO
ลงทะเบียนได้ที่นี่
http://bit.ly/WDTregister
หรือ Inbox เพื่อพูดคุยกับทีมงาน
http://bit.ly/WDT-inbox
เรียนรู้เกี่ยวกับโปรไฟล์อื่น ๆ
Our mission is to inspire and empower entrepreneurs to change other people lives, so that together we can make a dent in the universe. We deliver knowledge of business strategy through our media, training and consulting services to solve entrepreneur’s puzzles and save their time and efforts
@PAULNATHASIT all right reserved since 2022.
เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ยอมรับทั้งหมดประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้